บทที่ 1
บทที่1
คำสัญญาไมตรีเดิม
(The Old Testament)
ในบทนี้เราจะเริ่มเรียนรู้พระคัมภีร์ซึ่งเป็นหนังสือยิ่งใหญ่ที่สุด และมีบทบาทสำคัญต่อการเป็นอยู่ของมนุษย์มามากที่สุดกว่าหนังสือใด ๆ ที่เคยมีมา
นับได้หลายพันปีที่ผ่านมา พระคัมภีร์ได้กลายเป็นศูนย์รวมแห่งมาตรฐานของศีลธรรมและความเจริญรุ่งเรืองตลอดจนอารยธรรมของโลก เป็นหนังสือแสดงถึงหลักฐานอันสำคัญเกี่ยวกับความรู้ทางประวัติศาสตร์ เป็นชนวนอันสำคัญซึ่งทันทีก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์อย่างมากมายหลายด้าน ได้แก้ไขปรับปรุงสภาพการณ์ของทุก ๆ ประเทศ ซึ่งได้รับเอาพระคัมภีร์ด้วยความเคารพและถวายเกียรติยศให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป พระคัมภีร์เป็นดวงประทีปแห่งความหวังของมนุษย์จำนวนเป็นล้าน ๆ นับไม่ถ้วน เป็นที่เล้าโลมใจผู้ที่กำลังจะตาย เป็นเข็มทิศแก่งคนที่ยังคงมีชีวิตอยู่ ไม่มีหนังสือใดจะเท่าเทียมได้ เพราะเป็น "พระคำของพระเจ้าผู้ทรงพระชนม์อยู่และทรงตั้งดำรงอยู่เป็นนิตย์" (1เปโตร 1.23)
ขอพระเจ้าทรงอวยพระพรแก่ท่านอย่างมั่งคั่ง ในการศึกษาพระคำอันบริสุทธิ์ของพระองค์นี้ ให้ความร้อนรนสนใจของท่านนำท่านไปสู่ความรู้ ความเข้าใจ เพื่อจะเป็นประโยชน์ในพระราชกิจของพระองค์ผู้ได้ทรงวายพระชนม์แทนเราทั้งปวง
คำจารึกของพระคริสตธรรมเดิม
พระคริสตธรรมแบ่งออกเป็นส่วนใหญ่สองส่วนด้วยกัน เรียกว่าพระคริสตธรรมเดิมกับพระคริสตธรรมใหม่ (Old Testament and New Testament) พระคริสตธรรมเดิมต้นฉบับได้เขียนไว้เป็นภาษาเฮ็บราย รวมจารึกทั้งหมดของพระคริสตธรรมจากหนังสือเยเนซิศตลอดไปจนถึงหนังสือมาลาคี
โดยทั่วไปเราคิดว่าพระคริสตธรรมเป็นหนังสือเล่มเดียว แต่ที่จริงแล้วประกอบด้วยหนังสือหลาย ๆ เล่ม ซึ่งแต่ละเล่มก็แยกออกจากกันอย่างเห็นได้ชัด แต่ได้เขียนขึ้นไว้ในลักษณะที่กลมกลืนและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างที่สุด เหมือนกับว่าเป็นแต่เพียงส่วนต่าง ๆ ของหนังสือเล่มใหญ่เล่มเดียว คือพระคริสตธรรม ในพระคริสตธรรมเดิมเท่านั้นมีหนังสือ 39 เล่มรวมอยู่ด้วย เนื้อความกล่าวถึงสมัยแรกสร้างโลกจนกระทั่งปลายของหนังสือมาลาคีซึ่งได้เขียนขึ้นไว้เป็นเวลาประมาณ 425 ปีก่อนคริสตกาล
หนังสือห้าเล่มแรกของพระคริสตธรรมเดิม เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกแล้วว่าโมเซ (Moses) ได้เป็นผู้เขียนประมาณ 1400 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนที่เหลืออีก 34 เล่ม ได้เขียนขึ้นในเวลา 1100 ปีต่อมา ผู้เขียนบางคนเป็นคนเลี้ยงแกะ บางคนเป็นกษัตริย์ บางคนเป็นเชลยศึกในต่างแดน บางคนเป็นคนมีความรู้สูง ส่วนคนอื่น ๆ ก็ได้รับการอบรมแต่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ถึงกระนั้นก็ดีทั้งหมดนี้ได้เขียนขึ้นอย่างกลมกลืนและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในคำสอนที่เขียนขึ้นไว้นั้นจะหาข้อที่ขัดแย้งกันแม้แต่ข้อเดียวก็ไม่พบ
หลาย ๆ ศตวรรษต่อมา ผู้ไม่เชื่อในพระเจ้าได้ดูถูกดูหมิ่น มีผู้กดขี่ข่มเหงได้พยายามที่จะทำลายพระคริสตธรรมให้สูญสิ้นไป แต่เขาทั้งหลายก็เป็นเหมือนเช่นผู้ต่อสู้ขัดขวางอื่น ๆ ไม่มีผู้ใดจดจำชีวิตเขาเหล่านั้น แต่พระคริสตธรรมยังคงส่องแสงแจ่มสว่างขึ้นวันนี้ยิ่งกว่าแต่ก่อน ๆ
หัวข้อย่อของประวัติศาสตร์ในพระคริสตธรรมเดิม
ต่อไปนี้เป็นข้อความโดยย่อของประวัติศาสตร์แห่งพระคริสตธรรมเดิม ออกแบบไว้เพื่อให้นักศึกษาได้คุ้นเคยกับความเกี่ยวข้องและลำดับเวลาของเหตุการณ์อันสำคัญต่าง ๆ พร้อมทั้งมนุษย์ในสมัยนั้นด้วย
1. ภายหลังจากอาดามกับฮาวา (Adam and Eve) ถูกขับไล่ออกจากสวนเอเดน เพราะความผิดบาปของเขาทั้งสองแล้ว อาดามกับฮาวาได้มีบุตรสองคนชื่อ คายิน กับ เฮเบล, เฮเบลเป็นผู้ชอบธรรมมากยิ่งกว่า ด้วยความอิจฉาริษยา คายินได้ลุกขึ้นฆ่าน้องของตน จึงได้กลายเป็นฆาตกรคนแรกในโลก (เยเนซิศ บทที่ 4)
2. เพราะความชั่วช้านี้เอง คายินได้ถูกขับไล่ออกไป และต่อมาอาดามกับฮาวาได้มีบุตรคนต่อมาชื่อ เซธ เป็นบรรพบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ที่ได้ให้กำเนิดคนสำคัญต่าง ๆ เช่น โนฮา, อับราฮาม, ดาวิด และพระเยซูคริสต์ (เยเนซิศ บทที่ 5)
3. เพียงไม่กี่ร้อยปีต่อมา โลกนี้กลับชั่วช้ามากยิ่งขึ้น จนพระเจ้าได้ทรงตัดสินพระทัยที่จะต้องทำลายเสียทั้งหมด เหลือแต่โนฮา (Noah) และครอบครัวของเขา ที่ยังคงซื่อสัตย์พอที่พระเจ้าจะไว้ชีวิตได้ ในระหว่าง 120 ปี ขณะเมื่อนาวาใหญ่กำลังสร้างอยู่นั้นโนฮาได้เทศนาประกาศสั่งสอน แต่โลกในขณะนั้นชั่วช้ามากไม่ยอมฟัง จึงมีแต่เพียงแปดคนเท่านั้นได้รอดจากน้ำท่วมโลก (เยเนซิศ 7 และ 1เปโตร 3.20)
4. แปดคนเหล่านี้คือ บุตรชายของโนฮาสามคน คือ เซม, ฮาม, ยาเฟ็ธ, บุตรสะใภ้ และโนฮากับภรรยาของเขา ชนชาติยิศราเอลนั้นสืบเชื้อสายมาจากเซม
5. บุคคลสำคัญคนต่อไป ในพระคริสตธรรมเดิม คือ อับราฮาม (Abraham) อับราฮามมีบุตรชายสองคน คนหนึ่งชื่อยิศมาเอล (ผู้เป็นต้นตระกูลของชนชาวอาหรับหลายพวกปนกัน) และยิศฮาค เราจะกล่าวถึงยิศฮาคเป็นส่วนมาก เพราะยิศฮาคเป็นต้นตระกูลของประเทศยิศราเอล (เยเนซิศ 17.21) ภายหลังเมื่อนางซาราภรรยาของอับราฮามได้สิ้นชีวิตแล้ว อับราฮามได้แต่งงานใหม่กับนางคะตูรา และมีบุตรอีกหลายคน (เยเนซิศ 25.1-2)
6. โลตเป็นหลานของอับราฮาม โลตเป็นต้นตระกูลของพวกโมอาบและพวกอัมโมน (เยเนซิศ 19) พวกเหล่านี้ต่อมาเป็นศัตรูอันขมขื่นกับพงศ์พันธุ์ของอับราฮามเอง
7. ยิศฮาค (Isaac) มีบุตรชายสองคน คือ เอซาวกับยาโคบ พงศ์พันธุ์ของเอซาวคือพวกอะโดม ยาโคบมีบุตร 12 คนผู้ซึ่งอพยพเข้าไปอยู่ในอายฆุปโตพร้อมกับบิดาของเขาทั้งหลาย พงศ์พันธุ์ของยาโคบนี้เองได้เกิดเป็นประเทศยิศราเอลขึ้น บางทีเรียกว่า "ชนชาติยิศราเอล" หรือ "พลไพร่ของพระเจ้า" ภายหลังเมื่อพระเจ้าได้เปลี่ยนชื่อบิดาของเขาจากยาโคบเป็น "ยิศราเอล" แล้ว (เยเนซิศ 32.28) เรื่องราวของโยเซฟบุตรคนหนึ่งของยาโคบเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก ดังจะพบได้ในหนังสือ เยเนซิศ บทที่ 37 ถึง 50
8. หลังจากอยู่ในประเทศอายฆุปโตหลายปีแล้ว พวกยิศราเอลได้ตกเป็นทาสพวกอายฆุปโต (Egypt) เป็นเวลาถึง 400 ปี โมเซได้ปลดปล่อยพวกยิศราเอลออกจากการเป็นทาสอันหนักต่อมา ภายใต้การนำของพระเจ้า เพราะใจแข็งกระด้างของฟาโรห์พระเจ้าได้ทรงนำเอาภัยพิบัติต่าง ๆ อันน่ากลัวถึง 10 อย่างมาสู่พวกอายฆุปโต ในที่สุดฟาโรห์ทรงอนุญาตให้พวกยิศราเอลออกจากประเทศอายฆุปโต (เอ็กโซโด บทที่ 7 ถึง 12) โดยการอัศจรรย์ของพระเจ้า พวกยิศราเอลได้ข้ามทะเลแดงบนพื้นดินแห้ง ดังนั้นจึงได้หนีพ้นจากทหารของชนชาติอายฆุปโตที่ไล่ตามมา และได้จมน้ำตายยหมด (เอ็กโซโด บทที่ 14) ประมาณได้ว่าถึงเวลานั้นพวกยิศราเอลนับจำนวนได้มากกว่า 2 ล้านคน
9. หลังจากข้ามทะเลแดงไปได้ไม่นาน พวกยิศราเอล (Israel) ได้เดินทางมาถึงภูเขาซีนาย ที่นั่นเองพระเจ้าได้ทรงประทานพระบัญญัติ 10 ประการ (Ten Commandments) โดยทางโมเซ (เอ็กโซโด บทที่ 20) ในระยะเวลาต่อมาพวกยิศราเอลได้เดินทางอยู่ในป่า 40 ปี เพราะขาดความไว้วางใจในพระเจ้า (อาฤธโม บทที่ 14)
10. หลังจากโมเซสิ้นชีวิตแล้ว ยะโฮซูอะ (Joshua) ได้นำประชากรทั้งหลายข้ามแม่น้ำยาระเดน เข้าสู่ดินแดนแห่งคำสัญญา คือแผ่นดินคะนาอัน ซึ่งในที่สุดก็ได้ชัยชนะและแบ่งดินแดนนี้ให้ 12 ตระกูลเข้าอยู่อาศัย (ยะโฮซูอะ บทที่ 1 ถึง 222)
11. เมื่อยะโฮซูอะสิ้นชีวิตแล้ว พระเจ้าได้ทรงประทานผู้วินิจฉัย (Judges) ให้เป็นผู้นำพวกยิศราเอลต่อไป ในระยะนี้เองผู้วินิจฉัยที่สำคัญมีหลายคน เช่น ซิมโซน, ฆิดโอน และซามูเอล (ผู้วินิจฉัย บทที่ 3 ถึง 21) หลายปีต่อมาพวกยิศราเอลเริ่มอยากจะเป็นเหมือนประเทศข้างเคียง พวกเขาปฏิเสธผู้วินิจฉัยคนสุดท้าย คือ ซามูเอล และต้องการมีกษัตริย์สักองค์หนึ่งปกครองเขาทั้งหลาย พระเจ้าไม่ทรงพอพระทัยด้วยเรื่องนี้ แต่ในที่สุดก็ได้ทรงโปรดให้มีกษัตริย์ตามใจปรารถนาของเขาทั้งหลาย กษัตริย์สามพระองค์แรกของพวกยิศราเอล คือ ซาอูล, ดาวิด และกษัตริย์ซะโลโมพระราชบุตรขอดาวิด
12. หลังจากษัตริย์ซะโลโมสิ้นพระชนม์แล้ว อาณาจักรได้แตกแยกออกเป็นสองส่วน สิบตระกูลภายใต้การนำของยาระบะอามได้เป็นกบฏ และแยกออกเป็นอาณาจักรฝ่ายเหนือ (ยังคงเรียกว่า "ยิศราเอล" ต่อไป) อีกสองตระกูล (ยูดากับเบนยามิน) ภายใต้การนำของระฮับอาม พระราชโอรสของกษัตริย์ซะโลโม ได้แยกออกเป็นอาณาจักรฝ่ายใต้เรียกง่าย ๆ ว่า "อาณาจักรยูดา" (1พงศาวดารกษัตริย์ บทที่ 12)
13. เพราะความชั่วช้าและการไหว้รูปเคารพ ในไม่ช้าอาณาจักรฝ่ายเหนือก็ถูกทำลายและพลเมืองถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลยโดยอาณาจักรอะซีเรีย และไม่เคยได้กลับมาเป็นประเทศอีกเลย
14. ภายหลังต่อมาอีกไม่กี่ปี ตระกูลทั้งสองของอาณาจักรฝ่ายใต้ก็ถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลยโดยกษัตริย์นะบูคัศเนซัรแห่งอาณาจักรบาบูโลน ผู้ทรงไว้ซึ่งอำนาจในสมัยนั้น ในระหว่างระยะเวลานี้เอง ดานิเอลและมิตรสหายสามท่านซึ่งมีชีวิตอยู่ควรแก่การกล่าวถึงคือ ซัครัค, เมเซ็ค และอะเบ็ดนาโค หลังจากนั้นอีกหลายปี พวกเหล่านี้ได้ถูกปล่อยให้กลับไปยังกรุงยะรูซาเล็ม และได้บูรณะปฏิสังขรณ์กำแพงเมืองและพระวิหารของพระเจ้า ภายใต้การนำของ ซะรูบาเบล, เอษรา และนะเฮมยา
ประวัติศาสตร์แห่งพระคริสตธรรมเดิมที่ยังคงเหลืออยู่ ส่วนใหญ่กล่าวถึงกิจกรรมต่าง ๆ ของพวกยิศราเอลที่ได้กลับมาเสริมสร้างประเทศของตนเองขึ้นใหม่ และนำเหตุการณ์เข้าใกล้การเสด็จมาของพระเยซูคริสต์ แต่ไม่รวมการกำเนิดของพระเยซูคริสต์เข้าไว้ด้วย
การค้นพบโบราณวัตถุ เกี่ยวกับพระคริสตธรรมเดิม เมื่อไม่นานมานี้
นับเป็นเวลาหลายศตวรรษที่พระคริสตธรรมเดิมได้ยืนอยู่ได้ เช่นเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ต่าง ๆ ที่ได้บันทึกไว้แต่โดดเดี่ยว เป็นต้นว่า เมืองต่าง ๆ พลเมืองของประเทศชาติต่าง ๆ แห่งโลกในยุคโบราณนั้น ครั้งหนึ่งผู้ไม่เชื่อถือในพระคริสตธรรมกล่าวหาโดยเปิดเผยว่าบันทึกต่าง ๆ เหล่านั้นเชื่อถือไม่ได้ และไม่เป็นความจริง โดยให้เหตุผลว่า ข้อความเหล่านั้นไม่ปรากฏในประวัติศาสตร์ไม่ว่า ณ ที่ใด จึงเป็นข้อพิสูจน์ให้เห็นครั้งเดียวเท่านั้นว่าพระคริสตธรรมคัมภีร์เป็นหนังสือที่ไม่ถูกต้อง อย่างไรก็ตามเมื่อเร็ว ๆ นี้ได้มีนักขุดค้นวัตถุโบราณได้ขุดค้นพบหลายสิ่งซึ่งเป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นว่า พระคัมภีร์เป็นหนังสือที่ถูกต้องอย่างละเอียดละออมากมายและผู้ที่ขัดขวางผิดทั้งนั้น
ตัวอย่างเช่น เยเนซิศ 11.31 พระคริสตธรรมได้กล่าวไว้ว่า อับราฮาม (อับราม) อาศัยอยู่ที่เมืองอูระ พูดถึงเมืองนี้ใคร ๆ ก็หัวเราะเยาะว่าไม่มีในประวัติศาสตร์ จนกระทั่งเมื่อเร็ว ๆ มานี้เองนักโบราณคดีได้ขุดค้นพบเมืองนี้ และพบหลายสิ่งหลายอย่าง เช่น วิหาร ที่อยู่อาศัย และแม้กระทั่งอุโมงค์ฝังศพของพระมหากษัตริย์และพระราชินีหลายแห่งด้วยกัน
เรื่องชนชาติฮิดธีก็เช่นเดียวกัน ซึ่งได้กล่าวไว้ในหนังสือเยเนซิศ 15.20 ครั้งหนึ่งก็ไม่มีใครรู้จักนอกเหนือออกไปจากพระคัมภีร์ อย่างไรก็ตามมีคนได้ขุดค้นพบบันทึกเก่าแก่ของชาติอายฆุปโตและอะซีเรีย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพวกฮิดธีนี้มีจริง เป็นชาติที่ยิ่งใหญ่มีอำนาจมาก ตั้งอยู่ได้เกือบ 7 ศตวรรษ พระคริสตธรรมคัมภีร์ที่ได้กล่าวไว้จึงเป็นการถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง และผู้ไม่เชื่อที่ขัดขวางจึงผิดจากความเป็นจริงอีก
การขุดค้นอายฆุปโตยุคโบราณได้พบเมืองปิธม และโรงเก็บราชสมบัติของกษัตริย์ฟาโรห์มากมาย เป็นอย่างเดียวกันกับที่พวกยิศราเอลได้สร้างขึ้น ส่วนล่างก่อด้วยอิฐผสมกับหญ้าแห้งและส่วนบนก่อด้วยอิฐล้วน ๆ ไม่มีหญ้าแห้งปนอยู่ด้วย ตรงกับเหตุการณ์ที่บันทึกไว้ในพระคริสตธรรมเดิม (โปรดดูหนังสือเอ็กโซโด บทที่ 1.11 และ บทที่ 5.7) ศพดองแห้งของกษัตริย์เมเนปธาที่2 เชื่อกันอย่างกว้างขวางเป็นฟาโรห์ในสมัยอพยพ ก็ได้ขุดค้นพบด้วย พบแผ่นศิลาจารึกบทเพลงหนึ่งของพระองค์กล่าวถึงพวกยิศราเอลและคำจารึกยังบอกเราถึงเรื่องการสิ้นพระชนม์ของโอรสหนุ่มของพระองค์ อาจจะเป็นองค์ที่ได้กล่าวไว้ในภัยพิบัติสุดท้าย (เอ็กโซโด 12.29)
ซากกำแพงเมืองยะริโฮโบราณนั้นก็ได้ขุดพบด้วย ส่วนที่เหลืออยู่นั้นตรงกับคำที่ได้บรรยายไว้ในหนังสือยะโฮซูอะ บทที่ 6 ทุกประการ พระคริสตธรรมกล่าวไว้ว่า เมื่อพวกยิศราเอลเข้ายึดเมืองนั้น "ในเวลานั้นเขาพากันโห่ร้อง (ปุโรหิต) ก็เป่าแตร ขณะเมื่อพลไพร่ได้ยินเสียงแตรก็ร้องด้วยเสียงอันดัง กำแพงก็พังลง พลไพร่ทหารทุก ๆ คนก็ตรงเข้าไปยังเมืองนั้น" (ยะโฮซูอะ 6.20) การขุดค้นพบต่อไปว่ากำแพงเมืองนั้นพังลงมาทางด้านนอก ถมคูน้ำที่ขุดไว้รอบ ๆ เมือง เมื่อขุดต่อไปก็ปรากฏว่าตัวเมืองถูกเผาโดยความตั้งใจ แต่ไม่ใช่ถูกปล้นสดมภ์ นี่ก็ตรงกับที่ได้บันทึกไว้ในพระคริสตธรรมทุกประการ
นอกจากนี้ยังมีการค้นพบที่ตั้งของเมืองโฆเซ็น ศึลาจารึกของซีซัคกษัตริย์แห่งแผ่นดินอายฆุปโต ได้กล่าวถึงการสู้รบของพระองค์กับกษัตริย์ยาระบะอาม หลักฐานของน้ำท่วมโลก, ประวัติศาสตร์ของการเข้าตีประเทศปาเลสไตน์ของซันเฮริบกษัตริย์อะซูริยะ กล่าวถึงกษัตริย์ฮิศคียา, เมืองนีนะเว, ศิลาจารึกของพวกโมอาบเกี่ยวกับการสงคราม ได้กล่าวถึง "อัมรีกษัตริย์ของยิศราเอล" และ "ยะโฮวา" คำจารึก "แก่พระเจ้าที่เราไม่รู้จัก" เช่นอย่างที่เปาโลได้กล่าวไว้ในหนังสือกิจการ 17.23 และข้อเท็จจริงที่ตรงกันกับพระคริสตธรรมอีกมากมายก็ได้ขุดค้นพบเมื่อไม่นานมานี้เอง ดังนั้นถ้าใครยังไม่เห็นอีกว่าพระคัมภีร์เป็นฝีพระหัตถ์ของพระเจ้าที่ได้ดลใจมนุษย์ให้เขียนขึ้นแล้วก็นับว่าผู้นั้นเป็นคนตาบอดทีเดียว
คำแนะนำสำหรับการศึกษาพระคริสตธรรมให้ได้ผลดี
1. ศึกษาอย่างเปิดใจ พยายามค้นคว้าศึกษาในสิ่งที่พระคริสตธรรมสอนไว้ แทนที่จะพยายามหาข้อพิสูจน์ในสิ่งที่ท่านเชื่ออยู่ โปรดระลึกว่า กิตติคุณเป็นฤทธิ์เดชของพระเจ้าให้คนทั้งปวงที่เชื่อนั้นได้ถึงที่รอดทุกคน ไม่ใช่ความคิดเห็นของเราเอง (โรม 1.16)
2. ศึกษาพระคริสตธรรมอย่างเป็นระบบ คือเป็นหัวข้อเรื่อง ๆ ไป หลักสูตรนี้มีเป้าประสงค์เช่นนั้น นักเรียนในโรงเรียนไม่อาจเรียนเคมี, คณิตศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ได้ ถ้าเขาจะข้ามไปมาอย่างไม่เป็นระเบียบ จากหัวข้อหนึ่งไปสู่อีกหัวข้อหนึ่ง ก็จะปะปนยุ่งกันไปหมด การศึกษาพระคริสตธรรมเป็นความจริงเช่นนั้นด้วยเหมือนกัน
3. ศึกษาพระคริสตธรรมทุกวัน หนังสือกิจการ บทที่ 17.11 พระคริสตธรรมกล่าวถึงเมืองเบรอยะว่า "ชาวเมืองนั้นสุภาพกว่าชาวเมืองเธซะโลนิเก ด้วยเขามีใจเลื่อมใสรับคำของพระเจ้า และค้นดูพระคัมภีร์ทุกวันหวังจะรู้ว่าข้อความเหล่านั้นจะจริงดังกล่าวหรือไม่" ถ้าสาวกเหล่านี้ได้รับการหนุนใจให้ตรวจสอบคำสอนของอัครสาวก เราควรจะต้องระมัดระวังตรวจสอบให้ดี ในทุกวันนี้เช่นเดียวกัน
4. เชื่อว่า "ความจริง" นั้นยังคงดำรงอยู่ บางทีเราได้ยินข้อความว่า "ท่านคิดว่าจะพิสูจน์สิ่งใดได้ โดยอาศัยพระคริสตธรรมคัมภีร์" คำกล่าวเช่นนั้นใกล้เข้าไปสู่การหมิ่นประมาทพระคำของพระเจ้าทีเดียว ถ้าเป็นความจริงเช่นนี้แล้ว ก็หมายความว่าพระคริสตธรรมคงจะเต็มไปด้วยคำสอนที่ขัดแย้งและคำสอนเท็จเทียมต่าง ๆ คำสอนตรงกันข้ามกันทุกหน้า คนส่วนมากจะโกรธเคืองยิ่งนักถ้าคนใดคนหนึ่งจะว่า นิสัยใจคอของเขาทั้งหลายเป็นอย่างไรนั้น "ท่านอาจพิสูจน์ได้ทุกสิ่ง โดยเขาทั้งหลายนั้นแหละ" แต่เป็นคนเหล่านี้เองที่ได้กล่าวหาว่าพระคำของพระเจ้าขัดแย้งกันอยู่เสมอ โปรดจำไว้ว่า ความจริงนั้นไม่เคยขัดแย้งกันเลย ถ้าหลักความเชื่อในทางศาสนาขัดแย้งกันเอง ก็เป็นเพราะอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือบางทีทั้งสองฝ่ายไม่เข้ากันได้กับหลักความจริงก็อาจเป็นได้
5. ศึกษาอย่างกว้างขวาง ถ้าเราอาจสามารถศึกษาทุกสิ่งทุกอย่างที่พระเจ้าประสงค์ให้เราในข้อเดียว ก็จะไม่มีประโยชน์อะไรสำหรับข้ออื่น ๆ ในการศึกษาพระคัมภีร์บางข้อ เราควรพิจารณาข้ออื่น ๆ ใกล้เคียงกันด้วยและเรียนรู้ว่าข้อความนี้ เขียนถึงใคร เมื่อใด และภายใต้สภาพการณ์อย่างไรบ้าง
6. นำคำสอนนั้นไปปฏิบัติตามเป็นการส่วนตัว เรื่องเศร้าที่สุดเรื่องหนึ่งในพระคริสตธรรมคัมภีร์ ก็คือ เรื่องขุนนางหนุ่มผู้มั่งมี ดังปรากฏในหนังสือ มัดธายบทที่ 19 ผู้ได้ถามพระเยซูว่า "ข้าพเจ้าจะต้องทำอย่างไรจึงจะได้ชีวิตนิรันดร์" เมื่อเขาได้รับคำตอบแล้ว พระคัมภีร์กล่าวว่า "เมื่อคนหนุ่มได้ยินถ้อยคำนั้นก็ออกไปเป็นทุกข์นัก..." ความรู้ทางพระคัมภีร์เป็นสิ่งที่ดีมาก แต่มีค่าน้อยเหลือเกิน เว้นไว้แต่จะได้นำเอาไปปฏิบัติอย่างจริงจัง
ขอพระเจ้าทรงอวยพระพรท่านในการศึกษาพระคำของพระองค์ครั้งนี้ให้ได้รับผลทางฝ่ายวิญญาณอย่างล้นพ้น
ในบทนี้เราจะเริ่มเรียนรู้พระคัมภีร์ซึ่งเป็นหนังสือยิ่งใหญ่ที่สุด และมีบทบาทสำคัญต่อการเป็นอยู่ของมนุษย์มามากที่สุดกว่าหนังสือใด ๆ ที่เคยมีมา
นับได้หลายพันปีที่ผ่านมา พระคัมภีร์ได้กลายเป็นศูนย์รวมแห่งมาตรฐานของศีลธรรมและความเจริญรุ่งเรืองตลอดจนอารยธรรมของโลก เป็นหนังสือแสดงถึงหลักฐานอันสำคัญเกี่ยวกับความรู้ทางประวัติศาสตร์ เป็นชนวนอันสำคัญซึ่งทันทีก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์อย่างมากมายหลายด้าน ได้แก้ไขปรับปรุงสภาพการณ์ของทุก ๆ ประเทศ ซึ่งได้รับเอาพระคัมภีร์ด้วยความเคารพและถวายเกียรติยศให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป พระคัมภีร์เป็นดวงประทีปแห่งความหวังของมนุษย์จำนวนเป็นล้าน ๆ นับไม่ถ้วน เป็นที่เล้าโลมใจผู้ที่กำลังจะตาย เป็นเข็มทิศแก่งคนที่ยังคงมีชีวิตอยู่ ไม่มีหนังสือใดจะเท่าเทียมได้ เพราะเป็น "พระคำของพระเจ้าผู้ทรงพระชนม์อยู่และทรงตั้งดำรงอยู่เป็นนิตย์" (1เปโตร 1.23)
ขอพระเจ้าทรงอวยพระพรแก่ท่านอย่างมั่งคั่ง ในการศึกษาพระคำอันบริสุทธิ์ของพระองค์นี้ ให้ความร้อนรนสนใจของท่านนำท่านไปสู่ความรู้ ความเข้าใจ เพื่อจะเป็นประโยชน์ในพระราชกิจของพระองค์ผู้ได้ทรงวายพระชนม์แทนเราทั้งปวง
คำจารึกของพระคริสตธรรมเดิม
พระคริสตธรรมแบ่งออกเป็นส่วนใหญ่สองส่วนด้วยกัน เรียกว่าพระคริสตธรรมเดิมกับพระคริสตธรรมใหม่ (Old Testament and New Testament) พระคริสตธรรมเดิมต้นฉบับได้เขียนไว้เป็นภาษาเฮ็บราย รวมจารึกทั้งหมดของพระคริสตธรรมจากหนังสือเยเนซิศตลอดไปจนถึงหนังสือมาลาคี
โดยทั่วไปเราคิดว่าพระคริสตธรรมเป็นหนังสือเล่มเดียว แต่ที่จริงแล้วประกอบด้วยหนังสือหลาย ๆ เล่ม ซึ่งแต่ละเล่มก็แยกออกจากกันอย่างเห็นได้ชัด แต่ได้เขียนขึ้นไว้ในลักษณะที่กลมกลืนและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างที่สุด เหมือนกับว่าเป็นแต่เพียงส่วนต่าง ๆ ของหนังสือเล่มใหญ่เล่มเดียว คือพระคริสตธรรม ในพระคริสตธรรมเดิมเท่านั้นมีหนังสือ 39 เล่มรวมอยู่ด้วย เนื้อความกล่าวถึงสมัยแรกสร้างโลกจนกระทั่งปลายของหนังสือมาลาคีซึ่งได้เขียนขึ้นไว้เป็นเวลาประมาณ 425 ปีก่อนคริสตกาล
หนังสือห้าเล่มแรกของพระคริสตธรรมเดิม เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกแล้วว่าโมเซ (Moses) ได้เป็นผู้เขียนประมาณ 1400 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนที่เหลืออีก 34 เล่ม ได้เขียนขึ้นในเวลา 1100 ปีต่อมา ผู้เขียนบางคนเป็นคนเลี้ยงแกะ บางคนเป็นกษัตริย์ บางคนเป็นเชลยศึกในต่างแดน บางคนเป็นคนมีความรู้สูง ส่วนคนอื่น ๆ ก็ได้รับการอบรมแต่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ถึงกระนั้นก็ดีทั้งหมดนี้ได้เขียนขึ้นอย่างกลมกลืนและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในคำสอนที่เขียนขึ้นไว้นั้นจะหาข้อที่ขัดแย้งกันแม้แต่ข้อเดียวก็ไม่พบ
หลาย ๆ ศตวรรษต่อมา ผู้ไม่เชื่อในพระเจ้าได้ดูถูกดูหมิ่น มีผู้กดขี่ข่มเหงได้พยายามที่จะทำลายพระคริสตธรรมให้สูญสิ้นไป แต่เขาทั้งหลายก็เป็นเหมือนเช่นผู้ต่อสู้ขัดขวางอื่น ๆ ไม่มีผู้ใดจดจำชีวิตเขาเหล่านั้น แต่พระคริสตธรรมยังคงส่องแสงแจ่มสว่างขึ้นวันนี้ยิ่งกว่าแต่ก่อน ๆ
หัวข้อย่อของประวัติศาสตร์ในพระคริสตธรรมเดิม
ต่อไปนี้เป็นข้อความโดยย่อของประวัติศาสตร์แห่งพระคริสตธรรมเดิม ออกแบบไว้เพื่อให้นักศึกษาได้คุ้นเคยกับความเกี่ยวข้องและลำดับเวลาของเหตุการณ์อันสำคัญต่าง ๆ พร้อมทั้งมนุษย์ในสมัยนั้นด้วย
1. ภายหลังจากอาดามกับฮาวา (Adam and Eve) ถูกขับไล่ออกจากสวนเอเดน เพราะความผิดบาปของเขาทั้งสองแล้ว อาดามกับฮาวาได้มีบุตรสองคนชื่อ คายิน กับ เฮเบล, เฮเบลเป็นผู้ชอบธรรมมากยิ่งกว่า ด้วยความอิจฉาริษยา คายินได้ลุกขึ้นฆ่าน้องของตน จึงได้กลายเป็นฆาตกรคนแรกในโลก (เยเนซิศ บทที่ 4)
2. เพราะความชั่วช้านี้เอง คายินได้ถูกขับไล่ออกไป และต่อมาอาดามกับฮาวาได้มีบุตรคนต่อมาชื่อ เซธ เป็นบรรพบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ที่ได้ให้กำเนิดคนสำคัญต่าง ๆ เช่น โนฮา, อับราฮาม, ดาวิด และพระเยซูคริสต์ (เยเนซิศ บทที่ 5)
3. เพียงไม่กี่ร้อยปีต่อมา โลกนี้กลับชั่วช้ามากยิ่งขึ้น จนพระเจ้าได้ทรงตัดสินพระทัยที่จะต้องทำลายเสียทั้งหมด เหลือแต่โนฮา (Noah) และครอบครัวของเขา ที่ยังคงซื่อสัตย์พอที่พระเจ้าจะไว้ชีวิตได้ ในระหว่าง 120 ปี ขณะเมื่อนาวาใหญ่กำลังสร้างอยู่นั้นโนฮาได้เทศนาประกาศสั่งสอน แต่โลกในขณะนั้นชั่วช้ามากไม่ยอมฟัง จึงมีแต่เพียงแปดคนเท่านั้นได้รอดจากน้ำท่วมโลก (เยเนซิศ 7 และ 1เปโตร 3.20)
4. แปดคนเหล่านี้คือ บุตรชายของโนฮาสามคน คือ เซม, ฮาม, ยาเฟ็ธ, บุตรสะใภ้ และโนฮากับภรรยาของเขา ชนชาติยิศราเอลนั้นสืบเชื้อสายมาจากเซม
5. บุคคลสำคัญคนต่อไป ในพระคริสตธรรมเดิม คือ อับราฮาม (Abraham) อับราฮามมีบุตรชายสองคน คนหนึ่งชื่อยิศมาเอล (ผู้เป็นต้นตระกูลของชนชาวอาหรับหลายพวกปนกัน) และยิศฮาค เราจะกล่าวถึงยิศฮาคเป็นส่วนมาก เพราะยิศฮาคเป็นต้นตระกูลของประเทศยิศราเอล (เยเนซิศ 17.21) ภายหลังเมื่อนางซาราภรรยาของอับราฮามได้สิ้นชีวิตแล้ว อับราฮามได้แต่งงานใหม่กับนางคะตูรา และมีบุตรอีกหลายคน (เยเนซิศ 25.1-2)
6. โลตเป็นหลานของอับราฮาม โลตเป็นต้นตระกูลของพวกโมอาบและพวกอัมโมน (เยเนซิศ 19) พวกเหล่านี้ต่อมาเป็นศัตรูอันขมขื่นกับพงศ์พันธุ์ของอับราฮามเอง
7. ยิศฮาค (Isaac) มีบุตรชายสองคน คือ เอซาวกับยาโคบ พงศ์พันธุ์ของเอซาวคือพวกอะโดม ยาโคบมีบุตร 12 คนผู้ซึ่งอพยพเข้าไปอยู่ในอายฆุปโตพร้อมกับบิดาของเขาทั้งหลาย พงศ์พันธุ์ของยาโคบนี้เองได้เกิดเป็นประเทศยิศราเอลขึ้น บางทีเรียกว่า "ชนชาติยิศราเอล" หรือ "พลไพร่ของพระเจ้า" ภายหลังเมื่อพระเจ้าได้เปลี่ยนชื่อบิดาของเขาจากยาโคบเป็น "ยิศราเอล" แล้ว (เยเนซิศ 32.28) เรื่องราวของโยเซฟบุตรคนหนึ่งของยาโคบเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก ดังจะพบได้ในหนังสือ เยเนซิศ บทที่ 37 ถึง 50
8. หลังจากอยู่ในประเทศอายฆุปโตหลายปีแล้ว พวกยิศราเอลได้ตกเป็นทาสพวกอายฆุปโต (Egypt) เป็นเวลาถึง 400 ปี โมเซได้ปลดปล่อยพวกยิศราเอลออกจากการเป็นทาสอันหนักต่อมา ภายใต้การนำของพระเจ้า เพราะใจแข็งกระด้างของฟาโรห์พระเจ้าได้ทรงนำเอาภัยพิบัติต่าง ๆ อันน่ากลัวถึง 10 อย่างมาสู่พวกอายฆุปโต ในที่สุดฟาโรห์ทรงอนุญาตให้พวกยิศราเอลออกจากประเทศอายฆุปโต (เอ็กโซโด บทที่ 7 ถึง 12) โดยการอัศจรรย์ของพระเจ้า พวกยิศราเอลได้ข้ามทะเลแดงบนพื้นดินแห้ง ดังนั้นจึงได้หนีพ้นจากทหารของชนชาติอายฆุปโตที่ไล่ตามมา และได้จมน้ำตายยหมด (เอ็กโซโด บทที่ 14) ประมาณได้ว่าถึงเวลานั้นพวกยิศราเอลนับจำนวนได้มากกว่า 2 ล้านคน
9. หลังจากข้ามทะเลแดงไปได้ไม่นาน พวกยิศราเอล (Israel) ได้เดินทางมาถึงภูเขาซีนาย ที่นั่นเองพระเจ้าได้ทรงประทานพระบัญญัติ 10 ประการ (Ten Commandments) โดยทางโมเซ (เอ็กโซโด บทที่ 20) ในระยะเวลาต่อมาพวกยิศราเอลได้เดินทางอยู่ในป่า 40 ปี เพราะขาดความไว้วางใจในพระเจ้า (อาฤธโม บทที่ 14)
10. หลังจากโมเซสิ้นชีวิตแล้ว ยะโฮซูอะ (Joshua) ได้นำประชากรทั้งหลายข้ามแม่น้ำยาระเดน เข้าสู่ดินแดนแห่งคำสัญญา คือแผ่นดินคะนาอัน ซึ่งในที่สุดก็ได้ชัยชนะและแบ่งดินแดนนี้ให้ 12 ตระกูลเข้าอยู่อาศัย (ยะโฮซูอะ บทที่ 1 ถึง 222)
11. เมื่อยะโฮซูอะสิ้นชีวิตแล้ว พระเจ้าได้ทรงประทานผู้วินิจฉัย (Judges) ให้เป็นผู้นำพวกยิศราเอลต่อไป ในระยะนี้เองผู้วินิจฉัยที่สำคัญมีหลายคน เช่น ซิมโซน, ฆิดโอน และซามูเอล (ผู้วินิจฉัย บทที่ 3 ถึง 21) หลายปีต่อมาพวกยิศราเอลเริ่มอยากจะเป็นเหมือนประเทศข้างเคียง พวกเขาปฏิเสธผู้วินิจฉัยคนสุดท้าย คือ ซามูเอล และต้องการมีกษัตริย์สักองค์หนึ่งปกครองเขาทั้งหลาย พระเจ้าไม่ทรงพอพระทัยด้วยเรื่องนี้ แต่ในที่สุดก็ได้ทรงโปรดให้มีกษัตริย์ตามใจปรารถนาของเขาทั้งหลาย กษัตริย์สามพระองค์แรกของพวกยิศราเอล คือ ซาอูล, ดาวิด และกษัตริย์ซะโลโมพระราชบุตรขอดาวิด
12. หลังจากษัตริย์ซะโลโมสิ้นพระชนม์แล้ว อาณาจักรได้แตกแยกออกเป็นสองส่วน สิบตระกูลภายใต้การนำของยาระบะอามได้เป็นกบฏ และแยกออกเป็นอาณาจักรฝ่ายเหนือ (ยังคงเรียกว่า "ยิศราเอล" ต่อไป) อีกสองตระกูล (ยูดากับเบนยามิน) ภายใต้การนำของระฮับอาม พระราชโอรสของกษัตริย์ซะโลโม ได้แยกออกเป็นอาณาจักรฝ่ายใต้เรียกง่าย ๆ ว่า "อาณาจักรยูดา" (1พงศาวดารกษัตริย์ บทที่ 12)
13. เพราะความชั่วช้าและการไหว้รูปเคารพ ในไม่ช้าอาณาจักรฝ่ายเหนือก็ถูกทำลายและพลเมืองถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลยโดยอาณาจักรอะซีเรีย และไม่เคยได้กลับมาเป็นประเทศอีกเลย
14. ภายหลังต่อมาอีกไม่กี่ปี ตระกูลทั้งสองของอาณาจักรฝ่ายใต้ก็ถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลยโดยกษัตริย์นะบูคัศเนซัรแห่งอาณาจักรบาบูโลน ผู้ทรงไว้ซึ่งอำนาจในสมัยนั้น ในระหว่างระยะเวลานี้เอง ดานิเอลและมิตรสหายสามท่านซึ่งมีชีวิตอยู่ควรแก่การกล่าวถึงคือ ซัครัค, เมเซ็ค และอะเบ็ดนาโค หลังจากนั้นอีกหลายปี พวกเหล่านี้ได้ถูกปล่อยให้กลับไปยังกรุงยะรูซาเล็ม และได้บูรณะปฏิสังขรณ์กำแพงเมืองและพระวิหารของพระเจ้า ภายใต้การนำของ ซะรูบาเบล, เอษรา และนะเฮมยา
ประวัติศาสตร์แห่งพระคริสตธรรมเดิมที่ยังคงเหลืออยู่ ส่วนใหญ่กล่าวถึงกิจกรรมต่าง ๆ ของพวกยิศราเอลที่ได้กลับมาเสริมสร้างประเทศของตนเองขึ้นใหม่ และนำเหตุการณ์เข้าใกล้การเสด็จมาของพระเยซูคริสต์ แต่ไม่รวมการกำเนิดของพระเยซูคริสต์เข้าไว้ด้วย
การค้นพบโบราณวัตถุ เกี่ยวกับพระคริสตธรรมเดิม เมื่อไม่นานมานี้
นับเป็นเวลาหลายศตวรรษที่พระคริสตธรรมเดิมได้ยืนอยู่ได้ เช่นเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ต่าง ๆ ที่ได้บันทึกไว้แต่โดดเดี่ยว เป็นต้นว่า เมืองต่าง ๆ พลเมืองของประเทศชาติต่าง ๆ แห่งโลกในยุคโบราณนั้น ครั้งหนึ่งผู้ไม่เชื่อถือในพระคริสตธรรมกล่าวหาโดยเปิดเผยว่าบันทึกต่าง ๆ เหล่านั้นเชื่อถือไม่ได้ และไม่เป็นความจริง โดยให้เหตุผลว่า ข้อความเหล่านั้นไม่ปรากฏในประวัติศาสตร์ไม่ว่า ณ ที่ใด จึงเป็นข้อพิสูจน์ให้เห็นครั้งเดียวเท่านั้นว่าพระคริสตธรรมคัมภีร์เป็นหนังสือที่ไม่ถูกต้อง อย่างไรก็ตามเมื่อเร็ว ๆ นี้ได้มีนักขุดค้นวัตถุโบราณได้ขุดค้นพบหลายสิ่งซึ่งเป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นว่า พระคัมภีร์เป็นหนังสือที่ถูกต้องอย่างละเอียดละออมากมายและผู้ที่ขัดขวางผิดทั้งนั้น
ตัวอย่างเช่น เยเนซิศ 11.31 พระคริสตธรรมได้กล่าวไว้ว่า อับราฮาม (อับราม) อาศัยอยู่ที่เมืองอูระ พูดถึงเมืองนี้ใคร ๆ ก็หัวเราะเยาะว่าไม่มีในประวัติศาสตร์ จนกระทั่งเมื่อเร็ว ๆ มานี้เองนักโบราณคดีได้ขุดค้นพบเมืองนี้ และพบหลายสิ่งหลายอย่าง เช่น วิหาร ที่อยู่อาศัย และแม้กระทั่งอุโมงค์ฝังศพของพระมหากษัตริย์และพระราชินีหลายแห่งด้วยกัน
เรื่องชนชาติฮิดธีก็เช่นเดียวกัน ซึ่งได้กล่าวไว้ในหนังสือเยเนซิศ 15.20 ครั้งหนึ่งก็ไม่มีใครรู้จักนอกเหนือออกไปจากพระคัมภีร์ อย่างไรก็ตามมีคนได้ขุดค้นพบบันทึกเก่าแก่ของชาติอายฆุปโตและอะซีเรีย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพวกฮิดธีนี้มีจริง เป็นชาติที่ยิ่งใหญ่มีอำนาจมาก ตั้งอยู่ได้เกือบ 7 ศตวรรษ พระคริสตธรรมคัมภีร์ที่ได้กล่าวไว้จึงเป็นการถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง และผู้ไม่เชื่อที่ขัดขวางจึงผิดจากความเป็นจริงอีก
การขุดค้นอายฆุปโตยุคโบราณได้พบเมืองปิธม และโรงเก็บราชสมบัติของกษัตริย์ฟาโรห์มากมาย เป็นอย่างเดียวกันกับที่พวกยิศราเอลได้สร้างขึ้น ส่วนล่างก่อด้วยอิฐผสมกับหญ้าแห้งและส่วนบนก่อด้วยอิฐล้วน ๆ ไม่มีหญ้าแห้งปนอยู่ด้วย ตรงกับเหตุการณ์ที่บันทึกไว้ในพระคริสตธรรมเดิม (โปรดดูหนังสือเอ็กโซโด บทที่ 1.11 และ บทที่ 5.7) ศพดองแห้งของกษัตริย์เมเนปธาที่2 เชื่อกันอย่างกว้างขวางเป็นฟาโรห์ในสมัยอพยพ ก็ได้ขุดค้นพบด้วย พบแผ่นศิลาจารึกบทเพลงหนึ่งของพระองค์กล่าวถึงพวกยิศราเอลและคำจารึกยังบอกเราถึงเรื่องการสิ้นพระชนม์ของโอรสหนุ่มของพระองค์ อาจจะเป็นองค์ที่ได้กล่าวไว้ในภัยพิบัติสุดท้าย (เอ็กโซโด 12.29)
ซากกำแพงเมืองยะริโฮโบราณนั้นก็ได้ขุดพบด้วย ส่วนที่เหลืออยู่นั้นตรงกับคำที่ได้บรรยายไว้ในหนังสือยะโฮซูอะ บทที่ 6 ทุกประการ พระคริสตธรรมกล่าวไว้ว่า เมื่อพวกยิศราเอลเข้ายึดเมืองนั้น "ในเวลานั้นเขาพากันโห่ร้อง (ปุโรหิต) ก็เป่าแตร ขณะเมื่อพลไพร่ได้ยินเสียงแตรก็ร้องด้วยเสียงอันดัง กำแพงก็พังลง พลไพร่ทหารทุก ๆ คนก็ตรงเข้าไปยังเมืองนั้น" (ยะโฮซูอะ 6.20) การขุดค้นพบต่อไปว่ากำแพงเมืองนั้นพังลงมาทางด้านนอก ถมคูน้ำที่ขุดไว้รอบ ๆ เมือง เมื่อขุดต่อไปก็ปรากฏว่าตัวเมืองถูกเผาโดยความตั้งใจ แต่ไม่ใช่ถูกปล้นสดมภ์ นี่ก็ตรงกับที่ได้บันทึกไว้ในพระคริสตธรรมทุกประการ
นอกจากนี้ยังมีการค้นพบที่ตั้งของเมืองโฆเซ็น ศึลาจารึกของซีซัคกษัตริย์แห่งแผ่นดินอายฆุปโต ได้กล่าวถึงการสู้รบของพระองค์กับกษัตริย์ยาระบะอาม หลักฐานของน้ำท่วมโลก, ประวัติศาสตร์ของการเข้าตีประเทศปาเลสไตน์ของซันเฮริบกษัตริย์อะซูริยะ กล่าวถึงกษัตริย์ฮิศคียา, เมืองนีนะเว, ศิลาจารึกของพวกโมอาบเกี่ยวกับการสงคราม ได้กล่าวถึง "อัมรีกษัตริย์ของยิศราเอล" และ "ยะโฮวา" คำจารึก "แก่พระเจ้าที่เราไม่รู้จัก" เช่นอย่างที่เปาโลได้กล่าวไว้ในหนังสือกิจการ 17.23 และข้อเท็จจริงที่ตรงกันกับพระคริสตธรรมอีกมากมายก็ได้ขุดค้นพบเมื่อไม่นานมานี้เอง ดังนั้นถ้าใครยังไม่เห็นอีกว่าพระคัมภีร์เป็นฝีพระหัตถ์ของพระเจ้าที่ได้ดลใจมนุษย์ให้เขียนขึ้นแล้วก็นับว่าผู้นั้นเป็นคนตาบอดทีเดียว
คำแนะนำสำหรับการศึกษาพระคริสตธรรมให้ได้ผลดี
1. ศึกษาอย่างเปิดใจ พยายามค้นคว้าศึกษาในสิ่งที่พระคริสตธรรมสอนไว้ แทนที่จะพยายามหาข้อพิสูจน์ในสิ่งที่ท่านเชื่ออยู่ โปรดระลึกว่า กิตติคุณเป็นฤทธิ์เดชของพระเจ้าให้คนทั้งปวงที่เชื่อนั้นได้ถึงที่รอดทุกคน ไม่ใช่ความคิดเห็นของเราเอง (โรม 1.16)
2. ศึกษาพระคริสตธรรมอย่างเป็นระบบ คือเป็นหัวข้อเรื่อง ๆ ไป หลักสูตรนี้มีเป้าประสงค์เช่นนั้น นักเรียนในโรงเรียนไม่อาจเรียนเคมี, คณิตศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ได้ ถ้าเขาจะข้ามไปมาอย่างไม่เป็นระเบียบ จากหัวข้อหนึ่งไปสู่อีกหัวข้อหนึ่ง ก็จะปะปนยุ่งกันไปหมด การศึกษาพระคริสตธรรมเป็นความจริงเช่นนั้นด้วยเหมือนกัน
3. ศึกษาพระคริสตธรรมทุกวัน หนังสือกิจการ บทที่ 17.11 พระคริสตธรรมกล่าวถึงเมืองเบรอยะว่า "ชาวเมืองนั้นสุภาพกว่าชาวเมืองเธซะโลนิเก ด้วยเขามีใจเลื่อมใสรับคำของพระเจ้า และค้นดูพระคัมภีร์ทุกวันหวังจะรู้ว่าข้อความเหล่านั้นจะจริงดังกล่าวหรือไม่" ถ้าสาวกเหล่านี้ได้รับการหนุนใจให้ตรวจสอบคำสอนของอัครสาวก เราควรจะต้องระมัดระวังตรวจสอบให้ดี ในทุกวันนี้เช่นเดียวกัน
4. เชื่อว่า "ความจริง" นั้นยังคงดำรงอยู่ บางทีเราได้ยินข้อความว่า "ท่านคิดว่าจะพิสูจน์สิ่งใดได้ โดยอาศัยพระคริสตธรรมคัมภีร์" คำกล่าวเช่นนั้นใกล้เข้าไปสู่การหมิ่นประมาทพระคำของพระเจ้าทีเดียว ถ้าเป็นความจริงเช่นนี้แล้ว ก็หมายความว่าพระคริสตธรรมคงจะเต็มไปด้วยคำสอนที่ขัดแย้งและคำสอนเท็จเทียมต่าง ๆ คำสอนตรงกันข้ามกันทุกหน้า คนส่วนมากจะโกรธเคืองยิ่งนักถ้าคนใดคนหนึ่งจะว่า นิสัยใจคอของเขาทั้งหลายเป็นอย่างไรนั้น "ท่านอาจพิสูจน์ได้ทุกสิ่ง โดยเขาทั้งหลายนั้นแหละ" แต่เป็นคนเหล่านี้เองที่ได้กล่าวหาว่าพระคำของพระเจ้าขัดแย้งกันอยู่เสมอ โปรดจำไว้ว่า ความจริงนั้นไม่เคยขัดแย้งกันเลย ถ้าหลักความเชื่อในทางศาสนาขัดแย้งกันเอง ก็เป็นเพราะอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือบางทีทั้งสองฝ่ายไม่เข้ากันได้กับหลักความจริงก็อาจเป็นได้
5. ศึกษาอย่างกว้างขวาง ถ้าเราอาจสามารถศึกษาทุกสิ่งทุกอย่างที่พระเจ้าประสงค์ให้เราในข้อเดียว ก็จะไม่มีประโยชน์อะไรสำหรับข้ออื่น ๆ ในการศึกษาพระคัมภีร์บางข้อ เราควรพิจารณาข้ออื่น ๆ ใกล้เคียงกันด้วยและเรียนรู้ว่าข้อความนี้ เขียนถึงใคร เมื่อใด และภายใต้สภาพการณ์อย่างไรบ้าง
6. นำคำสอนนั้นไปปฏิบัติตามเป็นการส่วนตัว เรื่องเศร้าที่สุดเรื่องหนึ่งในพระคริสตธรรมคัมภีร์ ก็คือ เรื่องขุนนางหนุ่มผู้มั่งมี ดังปรากฏในหนังสือ มัดธายบทที่ 19 ผู้ได้ถามพระเยซูว่า "ข้าพเจ้าจะต้องทำอย่างไรจึงจะได้ชีวิตนิรันดร์" เมื่อเขาได้รับคำตอบแล้ว พระคัมภีร์กล่าวว่า "เมื่อคนหนุ่มได้ยินถ้อยคำนั้นก็ออกไปเป็นทุกข์นัก..." ความรู้ทางพระคัมภีร์เป็นสิ่งที่ดีมาก แต่มีค่าน้อยเหลือเกิน เว้นไว้แต่จะได้นำเอาไปปฏิบัติอย่างจริงจัง
ขอพระเจ้าทรงอวยพระพรท่านในการศึกษาพระคำของพระองค์ครั้งนี้ให้ได้รับผลทางฝ่ายวิญญาณอย่างล้นพ้น