บทที่ 6

 

                                            บทที่6

                      ให้เราพากันไปยังวิหารของพระเจ้า
                                  เพื่อนมัสการพระองค์

    ดาวิดได้กล่าวว่า "ข้าพเจ้ามีความยินดี ขณะเขาได้กล่าวแก่ข้าพเจ้าว่า ให้เราไปยังวิหารของพระยะโฮวาเถิด"  (บทเพลงสรรเสริญ 122.1) ขอให้เราปลูกฝังนิสัยและเสริมสร้างจิตใจเช่นนี้ เป็นที่น่าเสียดายเมื่อสิทธชนประชุมพร้อมกัน มักมีเก้าอี้ว่างเสมอ (1ซามูล 20.18, 25, 27, เฮ็บราย 10.25)

1. เหตุผลที่เราควรไปร่วมประชุมนมัสการพระเจ้า
    1. เพราะเรารักพระเจ้า  องค์พระผู้เป็นเจ้าสถิตอยู่ด้วย  เมื่อเราร่วมประชุมนมัสการ (มัดธาย 18.20)  เราทั้งหลายชอบพบหน้ากับผู้ที่เรารักเสมอ
    2. เพื่อเติมความร้อนรนในฝ่ายวิญญาณ  ถ่านไฟก้อนเดียวแต่ลำพังจะดับ  ขาดความสนใจ เอือมระอา เบื่อหน่าย เยือกเย็น (มัดธาย 24.12)  ในกิจการขององค์พระผู้เป็นเจ้า  ในไม่ช้าเราก็จะขาดการประชุมไม่มีข้อยกเว้น
    3. เพราะเรารู้ว่าเราควรไป ผู้อื่นต้องการเรา คือ เราต้องการสามัคคีธรรมกับคริสเตียน ต้องการคำสอน ต้องการคำอธิษฐาน  และกำลังใจฝ่ายวิญญาณจิต  ซึ่งได้จากการไปร่วมประชุมนมัสการร่วมกัน  พี่น้องคริสเตียนต้องการอยากให้เราไปร่วมด้วย เพื่ออธิษฐาน ความสนใจของเรา การร่วมมือของเรา
    4. เพราะเราต้องการเพิ่มความกระหายใจฝ่ายวิญญาณ (มัดธาย 5.6,  1เปโตร 2.1-2)  ในทางร่างกายถ้าคนเราเบื่ออาหารเป็นสัญญาณอันตรายฉันใด ถ้าเราเบื่ออาหารฝ่ายวิญญาณก็ย่อมเป็นอันตรายด้วย
    5. เพราะตัวอย่างที่เราตั้งไว้หรือตัวอย่างเลว  ถ้าเราไม่มีตัวอย่างต่อลูก ๆ ของเรา (เอเฟโซ 6.5)  ตัวอย่างของเราต่อคู่ชีวิตของเรา (1เปโตร 3.1-7)  ตัวอย่างของเราต่อมิตรสหายที่ยังไม่เป็นคริสเตียน (มัดธาย 5.16)  ตัวอย่างเลวที่เราตั้งไว้แก่คริสเตียนใหม่ ๆ ถ้าเราไม่ไปร่วมประชุมนมัสการพระเจ้าประจำ เราเป็นตัวอย่างที่เลว  เราสอนผู้อื่นโดยการประพฤติของเรา
    6. เพราะถ้าพระเยซูเสด็จมาเป็นสถานที่ซึ่งเราต้องการอยู่ที่นั่น (มาระโก 13.32,  2เปโตร 3.14)
    7. เราไม่ดีกว่าผู้อื่น แต่เราต้องการให้ผู้อื่นไปร่วมประชุม  ตัวเราเองไม่สนใจ  ท่านอยากเป็นสมาชิกของคริสตจักรที่มีผู้ปกครองหรือนักเทศน์ตั้งใจขาดการประชุมบ่อย ๆ ไหม?  เป็นการถูกไหมที่เราหวังที่จะให้ผู้อื่นสัตย์ซื่อในการไปร่วมประชุม  แต่ตัวเราเองไม่สนใจ (มัดธาย 7.1-5,  โรม 2.21-22)
    8. เพราะเราไม่ต้องการทำให้ใจวินิจฉัยผิดและชอบของเรามัวหมองไป (ติโต 1.15,  1ติโมเธียว 4.1-2)  ครั้งแรกเราขาดการประชุม  เราไม่สบายใจจริงไหม?  แต่เมื่อเราขาดการประชุมบ่อย ๆ ใจวินิจฉัยของเราไม่เกิดความรู้สึกอะไรเลย  ไม่มีความเสียใจหรือรู้สึกอะไร โปรดศึกษาดู 1โยฮัน 3.20-21
    9. เพื่ออยู่ใต้การเชื่อฟังของผู้ปกครองหรือผู้นำของคริสตจักร (เฮ็บราย 13.7, 17)
    10. เพื่อป้องกันมิให้เกิดการพลาดล้มขึ้น (1โกรินโธ 11.20-30)  การขาดการประชุมมักเป็นสาเหตุต้นของการทิ้งความเชื่อ ศึกษาใน 2เปโตร 2.20-22  สังเกตว่าการพลาดล้มในความเชื่อน่าสังเวชเพียงไร?
    11. เพื่อช่วยมิให้เราทำบาป  เป็นการดีที่เราจะไปร่วมประชุมนมัสการทุกครั้ง  เพราะถ้าเรารู้จักกระทำการดีแต่ไม่ได้กระทำ เราก็กระทำบาป (ยาโกโบ 4.17)
    12. พระเยซูทรงอยู่ที่นั่น  (มัดธาย 18.20)  พระเจ้ามีสิทธิที่จะเลือกพบกับพวกยิศราเอลในเต้นท์ที่พักอาศัยของเขาแต่และครอบครัว  แต่พระเจ้าได้กำหนดสถานที่เจาะจงเอาไว้ที่พบกับพวกยิศราเอลที่นั่น ในทำนองเดียวกัน   พระเจ้าอาจเลือกที่จะพบกับเราแต่ละคนภายในบ้านของเรา  แต่พระเจ้ากำหนดเอาไว้ว่าพระองค์จะพบกับเรา เมื่อสิทธชนร่วมประชุมพร้อมกัน
    13. เพื่อปฏิบัติตามตัวอย่างที่ดีของคริสเตียนยุคแรก (กิจการ 2.42, 20.7,  1โกรินโธ 14.23)
    14. เพื่อป้องกันการออกคะแนนเสียให้ปิดประตูสถานที่ประชุม  ถ้าเราสามารถขาดการประชุมเพียงครั้งเดียว  ถ้าเช่นนั้นสมาชิกคนอื่น ๆ อีกหลายคนก็ขาดได้เหมือนกัน  และถ้าเราขาดหนึ่งคน  ทำไมไม่สองคน สามคน หรือทั้งหมดล่ะ?  ถ้าถือปฏิบัติกันเช่นนี้เราจะมีที่ประชุมทำไม?
    15. เพื่อไม่ให้เรากลายเป็นผู้ขโมยเวลาของพระเจ้า  วันต้นสัปดาห์ (อาทิตย์)  เป็นวันขององค์พระผู้เป็นเจ้า (วิวรณ์ 1.10)  ถ้าเราใช้วันนี้ไปในทางเห็นแก่ตัว  เพื่อผลประโยชน์ของตัวเราเองก็เท่ากับว่าเราขโมยเวลาต่อพระเจ้า (มาลาคี 3.8)  เราขโมยเงินและเวลาของพระเจ้าได้
    16. เพื่อมิให้เราขัดคำสั่งของพระเจ้า (เฮ็บราย 10.25)  กุญแจสำคัญในประโยคก็คือคำว่า "อย่าขาด" ถ้านักเทศน์ไปเทศนาที่อื่น  เขามิได้ขาดการประชุม  ถ้าคริสเตียนป่วยเขามิได้ขาดการประชุม  ถ้าคริสเตียนไปที่อื่นแต่ประชุมกับพี่น้องที่นั่น  เขาไม่ขาดการประชุม  ความหมายของข้อความนี้คือ  เมื่อคริสเตียนขาดการประชุมทั้ง ๆ ที่สามารถไปร่วมประชุมได้  แต่เพราะไม่สนใจ หรือเพราะการไม่เอาใจใส่ถือว่าเรื่องอื่นสำคัญมากกว่า  เขาละเมิดคำสั่งของพระเจ้า  ตามข้อความในเฮ็บราย 10.25  ผู้นั้นได้กระทำบาป เขาต้องกลับใจเสียใหม่

2. ข้อแก้ตัวในการไม่ไปร่วมประชุม
    1. "ฉันมีธุระยุ่ง"  ถ้าท่านยุ่งไม่มีเวลาที่ไปร่วมประชุม  ท่านยุ่งเกินไปโปรดพิจารณาว่า อาทิตย์หนึ่งท่านใช้เวลามากเท่าไรการไปร่วมประชุมนมัสการ เดี๋ยวนี้ท่านยังยุ่งเกินไปหรือ?  โปรดศึกษาดูใน มัดธาย 6.33 ให้จงดี
    2. "ฉันเหนื่อยเกินไป"  ศึกษา มัดธาย 6.33  อีกครั้งหนึ่ง  ท่านเหนื่อยเกินไปที่จะไปหาความสนุกสนานไหม?
    3. "ฉันมีคนมาเยี่ยมที่บ้าน"  เราต้องยกเวลาให้พระเจ้าก่อน (มัดธาย 6.33)  ทำไมท่านพาแขกมาประชุมด้วยล่ะ?  อาจทำให้เขากลับใจเป็นคริสเตียนได้  ท่านอยากเห็นผู้มาเยี่ยมนักเทศน์ที่บ้านทำให้นักเทศน์ไม่สามารถมาเทศนาได้ไหม?  ถ้านักเทศน์ทำเช่นนั้นก็ทำให้สะดุด บ้างแก้ตัวว่า "ไม่อยากให้แขกขายหน้า"  ท่านไม่กลัวขายหน้าพระเยซูหรือ?
    4. "ฉันไม่สบาย"  การเจ็บป่วยเป็นเหตุผลที่สมควร  อย่างไรก็ตามท่านควรถามและตอบความจริง  ความไม่สบายของข้าพเจ้าครั้งนี้ทำให้ไปทำงานไม่ได้ หรือไม่สามารถใช้เวลาไปในการสนุกสนานและการพักผ่อนหย่อนใจ  บ้างไม่สบาย ไม่สามารถไปร่วมประชุม แต่ไปทำงานได้ หรือ นั่งดูโทรทัศน์ที่บ้านได้ หรือไปโรงเรียนได้ ฯลฯ
    5. "ฉันไม่มีเสื้อผ้าดี ๆ ใส่"  ดู 1ซามูเอล 16.7  ตราบใดที่เสื้อผ้าเราสะอาดและสุภาพก็นับว่าใช้ได้
    6. "อากาศไม่ค่อยดี"  เราไม่ไปทำงานเพราะอากาศไม่ดีไหม?  แล้วโรงเรียนล่ะ? กีฬาล่ะ?  ข้อแก้ตัวเช่นนี้เป็นข้อแก้ตัวที่ฟังไม่ได้
    7. "ฉันไม่มีพาหนะ"  ท่านไปทำงานอย่างไรล่ะ? ท่านไปเที่ยวไกล ๆ บางครั้งเวลากลางคืน ท่านไปอย่างไร?
    8. "บ้านฉันไกลเกินไป"  ถ้าท่านจะไปเที่ยวที่ไกล ๆ ท่านแก้ตัวไหม?  ถ้าตลาดไกลจากบ้านท่านมาก แต่ท่านต้องการอาหาร ท่านไปไหม? ที่ทำงานของท่าน, โรงเรียนของท่านล่ะ?
    9. "คนอื่นทำไม่ดีกับฉัน"  พระเยซูทำไม่ดีต่อท่านหรือเปล่า?  ถ้าเช่นนั้น ท่านควรไปปรับความเข้าใจเสียก่อน  (มัดธาย 5.23-24,  18.15-17)
    10. "คนที่โบสถ์เยือกเย็น ไม่สนใจกัน"  จงระวังอย่าตัดสินผู้อื่น (มัดธาย 7.1-5)  อาจะเป็นท่านเองที่ผิดก็ได้  ความจริงก็คือการนมัสการนั้นจดจ่ออยู่ที่พระเจ้ามิใช่ต่อตัวท่านเอง
    11. "นักเทศน์เทศนายาวเกินไป, สั้นเกินไป, เร็วเกินไป"  เราสามารถเรียนบางสิ่งบางอย่างได้เสมอ  เราควรเป็นสาระมิใช่หรือ?  ท่านไม่คิดนมัสการอย่างอื่นดอกหรือ? ท่านมิใช่มาฟังคำเทศนาอย่างเดียว?
    
3. เก้าอี้ว่างเปล่าของท่านพูดว่าอย่างไร?
    1. เก้าอี้ว่างจะพูดว่า "เจ้าของที่นั่งสนุกสนานในสิ่งอื่นมากกว่าการไปร่วมประชุมนมัสการพระเจ้า"
    2. เก้าอี้ว่างจะพูดว่า "เจ้าของเก้าอี้ไม่แสวงหาแผ่นดินของพระเจ้าก่อน"
    3. เก้าอี้ว่างจะพูดว่า "เจ้าของเก้าอี้ไม่สนใจที่จะเสริมสร้างคริสตจักรให้เจริญขึ้น"
    4. เก้าอี้ว่างจะพูดว่า "เจ้าของเก้าอี้ไม่รักพระเจ้าจริง"
    5. มันจะพูดกับนักเทศน์ว่า  "คำเทศนาของท่านไม่มีค่าควรที่จะรับฟัง, การตระเตรียมของท่านไร้ประโยชน์, ความหวังดีของท่านไม่ได้รับการขอบคุณ"
    6. มันจะพูดกับผู้มาเยี่ยมว่า "ที่นี่ไม่น่าสนใจเท่าไรนัก"
    7. มันจะพูดกับคริสเตียนอื่นว่า "บางคนเห็นสิ่งอื่นน่าสนใจมากกว่าการนมัสการ
    8. มันจะพูดกับผู้ที่ยังไม่เป็นคริสเตียน "การร่วมประชุมนมัสการเป็นประจำนั้นไม่จำเป็นหรอก"
    9. มันจะพูดกับผู้ปกครองว่า "บางคนออกไปนอกฝูง"
    10. มันจะพูดกับพระเจ้าว่า "มีสิ่งอื่นที่สำคัญมากกว่าการนมัสการพระองค์เจ้า"
    11. มันจะพูดกับพระเยซูว่า "บางคนไม่ใยดีกับการพลีพระชนม์ของพระองค์"

4. ผู้ที่เราหวังว่าเขาควรมาประชุมแน่นอน แต่ผู้ที่เราหวังมากมักทำให้เราผิดหวัง
    1. สมาชิกของคริสตจักรที่ทำงานให้กับคริสตจักร
    2. คริสเตียนที่ย้ายมาจากที่อื่น (กิจการ 9.26-29)
    3. ผู้ที่เพิ่งรับบัพติศมาใหม่  หรือเพิ่งได้รับการพักฟื้นจากการสารภาพผิด (กิจการ 2.41-42,  โรม 6.3-4)
    4. ผู้ที่รอดตายหวุดหวิดหรือผู้ที่ทุกข์ใจ (ลูกา 17.11-19)
    5. ลูก ๆ ของผู้ที่เป็นคริสเตียน (สุภาษิต 22.6)
    
5. วิธีรักษามิให้มีการขาดการประชุม
    1. เป็นคริสเตียนที่เกิดใหม่จริง ๆ ไม่ปลอม (โรม 6.3-4,  กิจการ 2.38-42)  ผู้ที่กลับใจจริง ๆ เปรียบเหมือนคนบาปที่ต่ำต้อยดุจขอทานที่สิ้นหวัง (มัดธาย 5.3, กิจการ 2.37)  เมื่อบุคคลที่มีสภาพจิตใจเช่นนั้น  ถ้าท่านให้เขารับบัพติศมาวันอาทิตย์เขาจะไม่ขาดแม้กระทั่งการประชุมอธิษฐาน    
    2. ต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษแก่ผู้ละเลย  ต้องป้องกันมิให้ละเลยหน้าที่ เวลาที่ปล่อยไปมิใช่แก้สถานะการณ์ของคนได้ (กิจการ 8.22,  ยาโกโบ 5.16)
    3. ผู้ปกครองหรือผู้นำของคริสตจักรต้องคอยสอดส่องเต็มที่ (เฮ็บราย 13.17)  คริสตจักรแต่ละแห่งควรมีวิธีการที่จะรู้ว่าสมาชิกมาประชุมหรือไม่มา
    4. ปลูกฝังความรักแท้ต่อพระเจ้า (มัดธาย 22.37,  โยฮัน 14.15,  เฮ็บราย 10.25)  ถ้าเรารักพระเจ้าจริง ๆ เราก็ควรไปยังสถานที่พระเจ้าสถิตอยู่ (มัดธาย 18.20)
    
6. ความคิดเกี่ยวกับการนมัสการ กิจกรรมที่เราทำในการนมัสการ
    1. คำจำกัดความ การนมัสการ คือ การแสดงความเคารพยำเกรง, ให้ความนับถือ, ให้เกียรติ เป็นการปฏิบัติที่ให้ความเคารพต่อพระผู้เป็นเจ้า  เป็นการสำรวมใจในศาสนา (เวบสเตอร์)
    2. พระคัมภีร์ได้กล่าวเรื่องการนมัสการตามแบบพระคัมภีร์ (โยฮัน 4.24)  ข้อนี้สอนว่า
        (ก) การนมัสการต้องเป็นด้วยจิตวิญญาณ
        (ข) สิ่งที่เราจะนมัสการนั้นต้องด้วยวิญญาณ
        (ค) อาการของการนมัสการนั้น คือ ความจริง คือตามพระคำของพระเจ้า (โยฮัน 17.17)  พระคัมภีร์กำหนดการนมัสการไว้ 5 ประการคือ
        (1) ร้องเพลง (โกโลซาย 3.16, เอเฟโซ 5.19,  1โกรินโธ 14.15)
        (2) อธิษฐาน  (กิจการ 2.42,  1โกรินโธ 14.15)
        (3) การสั่งสอน  (กิจการ 2.42, 20.7)
        (4) พิธีระลึก (กิจการ 2.42, 20.7)
        (5) การถวายทรัพย์  (กิจการ 2.42,  1โกรินโธ 16.2)
    3. เราควรหลีกเลี่ยงการรบกวนการนมัสการ  เราอาจรบกวนการนมัสการด้วยการมาสาย,  หัวเราะ,  คุยกัน,  ทำลายหนังสือ,  ส่งเสียงดัง,  นั่งหลับ,  เขียนเล่น,  ทำหนังสือตก,  เดินเข้าออก  (บทเพลงสรรเสริญ 89.7)
    4. เราจะนมัสการพระเจ้าเมื่อเราไปสวรรค์ (วิวรณ์ 4.8-11, 5.11-14, 7.9-12)
 

ตอบคำถามแบบทดสอบ บทที่ 6  คลิกที่นี่

บทที่7