บทที่ 3
ยุคโมเซ ภาคแรก
1. เหมือนการศึกษาใดๆอย่างต่อเนื่อง พระคัมภีร์จะมีความหมายต่อท่านก็ต่อเมื่อท่านกำหนดเวลาในการศึกษาเป็นประจำทุกวัน ท่านจะประหลาดใจว่าท่านสามารถเรียนจบบทเรียนแต่ละบทโดยใช้เวลาไม่นานพร้อมทั้งใช้เวลาตอบคำถามท้ายบท โปรดระลึกว่าการอธิษฐานด้วยความจริงใจกับการศึกษาพระคัมภีร์ประจำวันไปควบคู่กัน
2. ก่อนที่ท่านจะส่งคำตอบท้ายบท ถ้าท่านมีคำถามหรือข้อคิดเห็นใดๆที่เป็นประโยชน์กรุณาเขียนถึงเรา เรายินดีที่จะรับคำถามและข้อคิดเห็นจากท่านเพราะแสดงว่าท่านมีความสนใจและจริงใจ
3. “ยุคโมเซ” ภาคแรก เป็นชื่อของหัวข้อในบทเรียนนี้ ซึ่งเป็นชื่อของโมเซที่พระเจ้าได้ประทานพระบัญญัติของพระคัมภีร์เดิมให้แก่พวกยิว (โยฮัน 1:17) ยุคนี้เริ่มตั้งแต่โมเซครอบคลุมประวัติศาสตร์ของพระคัมภีร์เดิมจนถึงช่วงเวลาชีวิตของพระเยซู และสิ้นสุดที่พระเยซูสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน
4. ประวัติศาสตร์ของพระคัมภีร์แบ่งออกเป็นสามยุค ยุคแรกคือยุคบรรพบุรุษ ยุคที่สองคือยุคโมเซ และยุคสุดท้ายคือยุคคริสเตียน
5. ในการศึกษายุคบรรพบุรุษ ภาพท้ายสุดเป็นภาพที่พระเจ้าได้ทำให้เกิดภัยพิบัติครั้งสุดท้ายแก่กษัตริย์ฟาโรห์และชาวอียิปต์ ความตายได้เข้าไปเยือนทุกบ้านที่ไม่มีเลือดแกะปะพรมที่กรอบประตู กษัตริย์ฟาโรห์ได้สูญเสียโอรสองแรกไป ท่ามกลางโศกนาฏกรรมที่ครอบงำทั่วประเทศอียิปต์ กษัตริย์ฟาโรห์ออกคำสั่งให้ปล่อยชนชาติยิศราเอลออกจากการเป็นทาส ทันทีชนชาติยิศราเอลได้พากันเดินทางออกไปจากประเทศอียิปต์ (เอ็กโซโด 12:29-51)
6. ผู้ที่ศึกษาพระคัมภีร์ จะพบว่าการศึกษาเหตุการณ์จริงในประวัติศาสตร์ตอนนี้เป็นประสบการณ์ที่น่าทึ่ง มีคนนำไปสร้างภาพยนตร์ทำให้เรื่องราวในพระคัมภีร์ตอนนี้น่าตื่นตาตื่นใจอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตามพระคัมภีร์ก็เป็นความจริงเท่านั้นที่จะทำให้ผู้ศึกษาเตรียมตัวเพื่อจะไปสวรรค์
7. นี่คือแนวทางการศึกษาพอสังเขปของยุคโมเซ วนเวียนอยู่ในป่าภูเขาซีนาย, พลับพลา, คะนาอัน, ผู้วินิจฉัย, กษัตริย์, อาณาจักรแบ่งแยก (ยูดา, ยิศราเอล) ยุคของโมเซจบลงด้วยเรื่องของผู้พยากรณ์ กำเนิดของพระเยซู พระราชกิจของพระองค์และการสิ้นพระชนม์ของพระองค์บนไม้กางเขน
8. ขณะที่โมเซได้นำชนชาติยิศราเอลออกจากประเทศอียิปต์ไปยังทะเลแดง กษัตริย์ฟาโรห์เกิดมีใจแข็งกระด้างตัดสินใจยกทัพติดตามชนชาติยิศราเอลหวังที่จะต้อนพวกเขากลับมาเป็นทาสอีก เมื่อกองทัพอียิปต์ติดตามไปอย่างกระชั้นชิด โมเซได้ร้องแก่ชนชาติยิศราเอลว่า “จงยืนอยู่นิ่งๆจะได้เห็นความรอดมาแต่พระยะโฮวา ....” (เอ็กโซโด 14:13) แล้วพระเจ้าได้ตรัสแก่โมเซว่า “จงสั่งชนชาติยิศราเอลให้เดินไปข้างหน้าเถิด” โมเซได้ยกไม้เท้ายื่นไปเหนือทะเลโดยฤทธานุภาพของพระเจ้าทะเลก็แหวกออกเป็นช่องโดยการอัศจรรย์นี้ทำให้ชนชาติยิศราเอลเดินบนที่ดินแห้งท่ามกลางทะเล (เอ็กโซโด 14:15-22)
9. เห็นพวกเฮ็บรายเดินบนที่แห้ง พวกอียิปต์จึงติดตามไป แต่เมื่อชนชาติยิศราเอลไปถึงฝั่งตรงกันข้ามด้วยความปลอดภัย ทำให้พวกอียิปต์ที่ติดตามไปจมน้ำตายในทะเล (เอ็กโซโด 14:23-30) พระคัมภีร์กล่าวว่า “เมื่อชนชาติยิศราเอลได้เห็นการใหญ่ซึ่งพระยะโฮวาได้ทรงกระทำแก่ชาวอายฆุบโตเขามีความเกรงกลัวพระยะโฮวา ได้เชื่อถือพระองค์และโมเซผู้รับใช้ของพระองค์ด้วย” (เอ็กโซโด 14:31)
10. มิระยามพี่สาวของโมเซ ได้นำพลไพร่ร้องเพลงสรรเสริญด้วยความยินดีเพราะพวกเขาได้หลุดพ้นจากการเป็นทาส พวกเขาได้ร้องเพลงสรรเสริญว่า “ขณะนั้นโมเซกับชนชาติยิศราเอลได้ร้องเพลงบทนี้ถวายพระยะโฮวาว่า "ข้าพเจ้าจะร้องเพลงสรรเสริญพระยะโฮวาเพราะพระองค์ทรงได้ชัยชนะอย่างสง่าผ่าเผย พระองค์ได้ทรงผลักม้าและพลม้าลงในทะเล” (เอ็กโซโด 15:1) การหลุดพ้นจากการเป็นทาสเป็นสัญลักษณ์เล็งถึงคนบาปที่ได้เรียนรู้จักน้ำพระทัยของพระเจ้า และได้หลุดพ้นจากความเป็นทาสบาป (โยฮัน 8:32)
11. หัวข้อต่อไป ลูกศรสีแดงชี้ไปที่ “วนเวียนอยู่ในป่า” ชนชาติยิศราเอลต้องเดินทางวนเวียนอยู่ในป่าเป็นเวลา 40 ปีเพราะความไม่เชื่อ
12. ในป่าทุระกันดาร พระเจ้าได้เลี้ยงพลไพร่ของพระองค์ด้วยอาหารจากสวรรค์เรียกว่า “มานา” และพระเจ้าได้ประทานฝูงนกกะทาให้เป็นเนื้ออาหาร (เอ็กโซโด 16:1-15) แม้ว่าชนชาติยิศราเอลได้บ่นต่อว่าพระเจ้าและกบฏต่อพระองค์ แต่พระองค์ก็ยังคงห่วงใยและสอนพวกเขาให้เรียนรู้จักพึ่งพาพระองค์
13. ดินแดนที่พลไพร่ของพระเจ้าเดินวนเวียนเป็นทะเลทราย ดังนั้นเมื่อพวกเขาต้องการน้ำดื่มพระเจ้าได้ทรงจัดสรรให้พวกเขา พระองค์ได้ทำให้ไหลออกมาจากก้อนหินเพื่อสนองความต้องการของพวกเขา (เอ็กโซโด 17:1-6) เหตุการณ์ต่างๆเหล่านี้สำแดงให้เห็นว่าพระเจ้าทรงจัดสรรสิ่งจำเป็นให้แก่ผู้ที่ติดตามการเป็นผู้นำของพระองค์ (บทเพลงสรรเสริญ 37:25, โรม 8:32)
14. ภูเขาซีนาย ในที่สุดก็สามารถมองเห็นภูเขาซีนายสุดสายตาแต่ไกลเมื่อพลไพร่ของพระเจ้าเดินทางลงไปทางใต้ พระเจ้าได้ประทานพระบัญญัติของพระองค์บนภูเขานี้โดยโมเซ
15. บริเวณแห่งนี้ เมื่อ 40 ปีก่อนหน้านี้โมเซได้หนีมาอยู่ที่นี่เมื่อได้ฆ่าชาวอียิปต์ ที่นี่อีกเหมือนกันที่พระเจ้าได้ทรงตรัสแก่โมเซที่พุ่มไม้ที่ไฟไหม้โชนอยู่ ขณะนี้อีกครั้งหนึ่งโมเซได้พาพวกยิศราเอลมาตั้งค่ายอยู่รอบบริเวณภูเขาซีนาย ครั้งนี้พระเจ้าได้ตรัสแก่โมเซให้ขึ้นไปบนภูเขาเพื่อเข้าเฝ้าพระองค์
16. ท่ามกลางเสียงฟ้าร้องฟ้าผ่า และความพรั่นพรึงต่อหน้าพระพักตร์พระเจ้า โมเซได้รับพระบัญญัติ 10 ประการ (เอ็กโซโด 19:3-20:17) “อย่าได้มีพระเจ้าอื่นต่อหน้าเราเลย” “อย่าทำรูปเคารพสำหรับตน .... อย่าออกพระนามพระยะโฮวาพระเจ้าของเข้าเปล่าๆ ... จงระลึกถึงวันซะบาโตถือเป็นวันบริสุทธิ์ ... จงนับถือบิดามารดาของเจ้า ... อย่าฆ่าคน .. อย่าล่วงประเวณีผัวเมียเขา ... อย่าลักทรัพย์ ... อย่าเป็นพยานเท็จต่อเพื่อนบ้าน .. อย่าโลภ ....” ตรงกันข้ามขณะที่โมเซอยู่บนภูเขาเพื่อรับพระบัญญัติ แต่ชนชาติยิศราเอลเบื้องล่างภูเขาได้ทำรูปวัวทองคำเพื่อนมัสการกราบไหว้ (เอ็กโซโด 32:1-14)
17. โมเซได้ลงมาจากภูเขา โมเซโกรธเมื่อได้เห็นพลไพร่ของพระเจ้าพากันก้มกราบนมัสการรูปวัวทองคำ พวกยิศราเอลได้ละเมิดบัญญัติ 10 ประการข้อที่2 “อย่าทำรูปเคารพสำหรับตน .. อย่ากราบไหว้หรือปรนนิบัติรูปเหล่านั้น” (เอ็กโซโด 20:4-5) ด้วยความโกรธโมเซได้ทำให้แผ่นดินศิลาสองแผ่น ที่พระเจ้าได้เขียนบัญญัติ 10 ประการไว้แตกไป (เอ็กโซโด 32:15-19)
18. แล้วโมเซได้เผารูปวัวทองคำ บดเป็นผงละเอียดใส่ลงในภาชนะที่ใส่น้ำบังคับให้พลไพร่ที่กราบไหว้รูปวัวทองตำดื่มเป็นการลงโทษมีสามพันคนที่ไม่ยอมกลับใจเสียใหม่ถูกลงโทษถึงแก่ชีวิต ทำให้ชนชาติยิศราเอลทุกคนมีความเคารพยำเกรงพระเจ้า (เอ็กโซโด 32:20-28) พระเจ้าไม่พอพระทัยการที่มนุษย์ไปกราบไหว้รูปปั้นรูปเคารพ ในปัจจุบันนี้เช่นเดียวกัน (โรม 1:21-24)
19. พระเจ้าได้เรียกให้โมเซขึ้นไปเฝ้าบนภูเขาอีกครั้ง หลังจาก 40 วันอีกครั้งหนึ่งโมเซได้ลงมาจากภูเขาซีนายพร้อมด้วยแผ่นศิลาบัญญัติ 10 ประการ ซึ่งเขียนขึ้นโดยพระหัตถ์ของพระเจ้า (เอ็กโซโด 34:1-35) บัญญัติ 10 ประการเหล่านี้เป็นพื้นฐานบัญญัติทั้งหมดของพระเจ้า สำหรับพวกยิวที่อยู่ภายใต้ยุคโมเซบัญญัตินี้ได้ให้เป็นบัญญัติของพวกยิวโดยเฉพาะ อย่างไรก็ตามพระคัมภีร์ใหม่สำแดงน้ำพระทัยของพระเจ้าในปัจจุบันนี้ โมเซบอกพวกยิศราเอลว่าในอนาคตเบื้องหน้าพระเจ้าจะประทานศาสดาพยากรณ์เหมือนกับท่านให้เกิดขึ้น โมเซหมายถึงพระเยซูคริสต์เจ้านั่นเอง ผู้ซึ่งจะเป็นผู้ปลดปล่อยมนุษย์ให้พ้นจากการเป็นทาสบาป (พระบัญญัติ 18:18,กิจการ 3:22-23)
20. พลับพลา เป็นสถานที่นมัสการที่พระเจ้าพระบิดาได้ทรงกำหนดขึ้นครั้งแรก
21. พลับพลา มีรูปร่างดังจิตกรได้แสดงไว้ในภาพนี้ พระคัมภีร์สอนว่าพลับพลามีลักษณะเหมือนกระโจมได้ทำขึ้นสำหรับพลไพร่ของพระเจ้าขณะที่เคลื่อนขบวนไปในดินแดนทุระกันดาร ทั้ง 12 ตระกูลของพวกยิศราเอลจะตั้งอยู่บริเวณรอบพลับพลา (อาฤธโม 1:51-2:34) โมเซได้สร้างพลับพลาตามรายละเอียดที่พระเจ้าได้ออกแบบไว้ให้กับโมเซบนภูเขาซีนาย (เฮ็บราย 8:5) เหนือพลับพลามีเสาไฟในเวลากลางคืน และเสาเมฆในเวลากลางวันเป็นสัญญาณบอกให้ทราบว่าพระเจ้าทรงสถิตอยู่ท่ามกลางชนชาติยิศราเอล แต่ปัจจุบันนี้พระเจ้าทรงสถิตอยู่ในใจของบรรดาคริสเตียนทั้งหลายโดยความเชื่อ (2โกรินโธ 6:16-18)
22. วัสดุต่างๆ ที่นำมาใช้สร้างพลับพลา พลไพร่ของพระเจ้าได้นำมาถวายโดยความสมัคใจ คุณค่าของพลับพลาคงมีราคาแพงมากเพราะวัสดุที่มีค่ามหาศาลเป็นจำนวนมากที่นำมาใช้ในการสร้างพลับพลา พลไพร่ของพระเจ้าได้นำสิ่งของมีค่านำมามอบให้โมเซอย่างมากมายจนเกินความต้องการ โมเซต้องบอกห้ามไม่ให้ชนชาติยิศราเอลนำของเหล่านี้มาให้อีก (เอ็กโซโด 35:4-36:6) ปัจจุบันนี้ในยุคคริสเตียนคริสตจักรขององค์พระผู้เป็นเจ้าต้องได้รับการถวายทรัพย์ด้วยความสมัครใจ เหมือนชนชาติยิศราเอลสมัยโน้น? พระเจ้าได้ประทานให้เรามากมายเหนืออื่นใดพระเจ้าได้ประทานพระบุตรของพระองค์เพื่อเป็นค่าไถ่บาปของมนุษย์ทุกชาติ
23. พิจารณาเฟอร์นิเจอร์ 3 อย่างที่อยู่ในพลับพลา สิ่งแรกคือแท่นสำหรับเผาถวายเครื่องหอมซึ่งอยู่ในพระคัมภีร์เดิม พวกปุโรหิตจะต้องเผาเครื่องหอมตามบัญญัติของโมเซ พวกที่จะทำหน้าที่เป็นปุโรหิตจะต้องมาจากตระกูลเลวีเท่านั้น อย่างไรก็ตามปัจจุบันนี้ในยุคคริสเตียนพระคัมภีร์สอนว่าคริสเตียนทุกคนเป็นปุโรหิต (1เปโตร 2:5,9) การเผาถวายเครื่องหอมเพื่อถวายนมัสการพระเจ้าเป็นการปฏิบัติตามกฎของพระคัมภีร์เดิมอย่างเคร่งครัด พระเจ้าไม่ได้กำหนดให้เผาเครื่องหอมในยุคคริสเตียนปัจจุบันนี้ แต่พระองค์กำหนดให้คริสเตียนอธิษฐานเป็นสุคนธรสถวายนมัสการพระเจ้า (วิวรณ์ 5:8)
24. ปุโรหิตสองคนในพระคัมภีร์เดิม นาดาบกับอะบีฮูขณะที่ได้ถวายเครื่องหอมได้ถูกลงโทษถึงชีวิตจากไฟที่มาจากสวรรค์ พระเจ้าได้สั่งไว้ชัดเจนว่าต้องนำไฟพิเศษที่กำหนดไว้มาเผาถวาย แต่ปุโรหิตสองคนนี้ได้นำไฟจากที่อื่นที่พระเจ้าไม่ได้สั่งมาเผาถวายเครื่องหอม ตัวอย่างนี้สอนให้เรารู้ว่าการนมัสการจะต้องเป็นไปตามที่พระเจ้าตรัสสั่งไว้ในพระคัมภีร์เท่านั้น แทนที่จะเลือกตามความพอใจของเราเอง
25. เฟอร์นิเจอร์ชิ้นที่สอง คันประทีปที่มีกะเปาะไฟเจ็ดดวง (เอ็กโซโด 25:31-40) คันประทีปเหล่านี้จะถูกจุดขึ้นทุกเย็นเป็นส่วนหนึ่งของการนมัสการในพระคัมภีร์เดิม พระเจ้าไม่ได้เลือกใช้คันประทีปเป็นการนมัสการในพระคัมภีร์ใหม่ในคริสตจักร (เฮ็บราย 9:1-2, 9-12) ปัจจุบันพระคำของพระเจ้าเป็นความสว่างแห่งจิตวิญญาณ คริสเตียนควรศึกษาพระคัมภีร์เป็นประจำทุกวัน
26. โต๊ะขนมปังตั้งถวาย โต๊ะนี้ได้ตั้งไว้ในพลับพลาตามโครงการของพระเจ้า (เอ็กโซโด 25:23-30) ปุโรหิตเท่านั้นที่สามารถรับประทานขนมปังได้เป็นพิธีหนึ่งจะต้องมีการเปลี่ยนขนมปังทุกๆวันซะบาโต (วันเสาร์) ปัจจุบันนี้แทนที่จะรับประทานขนมปังตั้งโต๊ะถวายทุกๆวันอาทิตย์คริสเตียนรับประทานพิธีระลึก ซึ่งตามพระคัมภีร์ใหม่คริสเตียนทุกคนเป็นปุโรหิต (กิจการ 20:7, 1เปโตร 2:5)
27. พลับพลา เป็นกระโจมที่สวยงามแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกด้านนอกเรียกว่าชั้นที่บริสุทธิ์ ประกอบด้วยแท่นเผาถวายเครื่องหอมคันประทีป และขนมปังตั้งโต๊ะถวาย ส่วนที่สองต้านเรียกว่าชั้นบริสุทธิ์ที่สุด มีม่านกั้นแยกสองส่วนออกจากกัน พระเจ้าทรงสถิตอยู่ในชั้นที่บริสุทธิ์ที่สุด มนุษย์คนเดียวเท่านั้นที่สามารถเข้าไปในชั้นบริสุทธิ์ที่สุด คือมหาปุโรหิตซึ่งจะต้องเป็นครอบครัวของอาโรนเท่านั้น มหาปุโรหิตแต่เพียงผู้เดียวที่สามารถเข้าไปในชั้นที่บริสุทธิ์ได้ทีละครั้งเพื่อถวายเครื่องบูชาไถ่โทษบาปสำหรับตัวเองและสำหรับชนชาติยิศราเอล (เฮ็บราย 9:7) แต่ปัจจุบันนี้พระเยซูมหาปุโรหิต และเป็นมหาปุโรหิตคนเดียวเท่านั้นที่ทำหน้าที่เป็นคนกลางระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า เพราะฉะนั้นระบบปุโรหิตตามแบบพระคัมภีร์เดิมก็ได้ถูกยกเลิกไปอย่างถาวร (1ติโมเธียว 2:5)
28. ภายในชั้นที่บริสุทธิ์ที่สุด มีเฟอร์นิเจอร์เพียงอย่างเดียวเท่านั้นคือหีบคำสัญญาไมตรีที่ทำด้วยไม้หุ้มด้วยทองคำ ภายในหีบสัญญาไมตรีประกอบด้วยศิลาบัญญัติ 10 ประการ หม้อใส่มานาที่ไม่เสีย และไม้เท้าของอาโรนที่อกช่อเพียงชั่วคืนเดียว ในชั้นบริสุทธิ์ที่สุดมหาปุโรหิตแต่เพียงผู้เดียวจะนำโลหิตของสัตว์ประพรมเพื่อเป็นการไถ่โทษบาปของพลไพร่ทั้งปวง ด้านบนของหีบคำสัญญาไมตรีเรียกว่า “พระที่นั่งพระกรุณา”ในพลับพลาชั้นที่บริสุทธิ์ที่สุดโลหิตของสัตว์ได้ถูกประพรมเพื่อเป็นการไถ่โทษบาปภายใต้ระบบของโมเซ แต่ปัจจุบันนี้พระเยซูเป็นมหาปุโรหิตได้เสด็จเข้าไปในสวรรค์เป็นชั้นที่บริสุทธิ์ที่สุดอันแท้นั้น พระเยซูได้ถวายพระโลหิตของพระองค์ครั้งเดียวเพื่อความบาปของเราทั้งหลาย
29. “และพระองค์ไม่ได้ทรงนำเลือดแพะและเลือดลูกวัวเข้าไป แต่ทรงนำพระโลหิตของพระองค์เอง เสด็จเข้าไปในที่บริสุทธิ์นั้น แต่เพียงครั้งเดียว และทรงได้ความรอดนิรันดร์ไว้” (เฮ็บราย 9:12) เพราะพระโลหิตของพระเยซูเป็นเครื่องบูชาไถ่โทษถาวรนิรันดร เพราะฉะนั้นการสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนเป็นเครื่องหมายการสิ้นสุดการถวายสัตว์เป็นเครื่องบูชาสิ้นสุดลง (เฮ็บราย 10:4-10)
30. ตอนที่พลับพลายังคงใช้ในพระคัมภีร์เดิม แท่นเผาถวายเครื่องบูชาตั้งอยู่ข้างหน้าของพลับพลา มีการเผาถวายสัตว์เป็นเครื่องบูชาบนแท่นนี้ทุกวันจากแท่นเผาถวายเครื่องบูชามหาปุโรหิตนำโลหิตจากสัตว์ที่เผาเป็นเครื่องบูชาเข้าไปในชั้นที่บริสุทธิ์ที่สุดปีละครั้งในวันของการไถ่โทษ (เลวีติโก 16:1-19)
31. ปุโรหิตที่อยู่ภายใต้บัญญัติของโมเซ จะต้องล้างมือให้สะอาดในพานชำระก่อนที่จะเข้าไปในพลับพลา ปัจจุบันนี้เราจะต้องถูกชำระล้างโดยพระโลหิตของพระเยซูก่อนที่พระเจ้าจะอนุญาตให้เราเข้าไปในครอบครัวฝ่ายวิญญาณจิต คือคริสตจักร (1โกรินโธ 6:9-11, 1เปโตร 1:18-19)
32. หลังจากที่ได้สร้างพลับพลาเสร็จแล้ว พลไพร่ของพระเจ้าเดินทางไปที่ไหนจะแบกพลับพลาไปด้วย ไม่นานชนชาติยิศราเอลได้เรียนรู้ว่าการนมัสการในพลับพลามีความสำคัญอย่างยิ่ง จะต้องเชื่อฟังพระเจ้าทุกอย่างนำสิ่งอื่นมาทดแทนไม่ได้ เมื่อเดินทางใกล้ดินแดนของชาติอะโดมพวกชนชาติยิศราเอลได้กบฏพยศต่อพระเจ้าอีกครั้ง เพื่อสำแดงให้ความชั่วของชนชาติยิศราเอลที่กบฏพยศต่อพระเจ้าให้ประจักษ์ พระเจ้าได้ทำให้มีงูพิษทำให้พลไพร่ตายเป็นจำนวนมาก พวกชนชาติยิศราเอลได้ร้องไห้พระเจ้าช่วยพวกเขา พระเจ้าสั่งให้โมเซทำงูทองเหลืองแขวนไว้บนเสา ผู้ที่มองรูปงูนี้จะได้รับการรักษาให้หาย (อาฤธโม 21:4-9) โปรดสังเกตว่าพระเจ้าไม่ได้ขจัดงูพิษให้หมดไป แต่พระองค์ได้หาวิธีรักษาชนชาติยิศราเอลให้หาย ปัจจุบันนี้พระเจ้าไม่ขจัดการทดลองออกไป แต่พระองค์ได้ยกพระเยซูคริสต์ขึ้นบนไม้กางเขนเพื่อรักษาเหล็กไนแห่งความบาปให้หาย (โยฮัน 3:14-15)
33. แผ่นดินคะนาอัน แผ่นดินแห่งคำสัญญาเป็นแผ่นดินที่ในที่สุดลูกหลานของชนชาติยิศราเอลที่ออกมาจากประเทศอียิปต์ได้เดินทางไปถึง เพราะการที่ชนชาติยิศราเอลไม่มีความเชื่อพวกชนชาติยิศราเอลได้วนเวียนอยู่ในป่าเป็นเวลา 40 ปี พระเจ้าได้ทรงสัญญาแก่อับราฮามหลายปีก่อนหน้านี้ว่าจะประทานแผ่นดินคะนาอันให้แก่ลูกหลานของเขา (เยเนซิศ 15) เราจะพิจารณาว่าพระเจ้าได้รักษาคำสัญญาของพระองค์อย่างไร
34. โมเซกับยะโฮซูอะได้เดินทางมาถึงสถานที่ซึ่งจะวางโครงการในการยึดแผ่นดินคะนาอัน โมเซรู้ว่าตัวเองได้ทำความบาปพระเจ้าไม่อนุญาตให้โมเซเข้าไปยังแผ่นดินคะนาอันได้ โมเซได้แต่งตั้งยะโฮซูอะให้เป็นผู้นำต่อไป พระเจ้าได้อนุญาตโมเซให้ขึ้นไปบนภูเขาเพื่อมองดูแผ่นดินแห่งคำสัญญาเมื่อตอนสิ้นสุดการเดินทาง 40 ปี หลังจากที่ได้เห็นแผ่นดินแห่งคำสัญญาแล้วโมเซได้ขึ้นไปบนภูเขานะโบ ณ ที่นั่นโมเซได้ถึงแก่ชีวิต แม้ว่ายะโฮซูอะเศร้าโศกเสียใจกับการจากไปของโมเซ ทันใดยะโฮซูอะได้ส่งคนสอดแนม 2 คนเข้าไปยังแผ่นดินคะนาอันเพื่อเตรียมตัวที่จะเอาชนะให้จงได้ (พระบัญญัติ 34:1-12,ยะโฮซูอะ 1:1-2:24)
35. ราฮาบหญิงชาวเมืองยะริโฮ เธอได้ซ่อนผู้สอดแนมทั้งสองคนที่ตกอยู่ในอันตรายจาการถูกจับ (ยะโฮซูอะ 2:1-24) และเธอได้ช่วยให้ทั้งสองหนีไปได้ แม้ว่าเธอเป็นหญิงชาวต่างชาติแต่เธอได้กลายมาเป็นผู้เชื่อพระเจ้า ภายหลังชนชาติยิศราเอลได้ช่วยให้เธอและครอบครัวของเธอรอดปลอดภัยเมื่อชนชาติยิศราเอลได้เข้ามาในแผ่นดินที่พระเจ้าทรงสัญญา
36. ยะโฮซูอะได้รวบรวมกองกำลังทหาร เพื่อที่จะข้ามแม่น้ำยาระเดนและทำสงครามหลังจากที่ได้รับรายงานจากผู้สอดแนมทั้งสองได้รายงานให้โมเซทราบว่า “เรียนยะโฮซูอะว่าแท้จริง พระยะโฮวาได้ทรงมอบแผ่นดินทั้งหมดนั้นไว้ในมือพวกเรา ทั้งบรรดาชาวเมืองนั้นก็อ่อนกำลังไปข้างหน้าเรา” (ยะโฮซูอะ 2:24) สิ่งที่ขวางอยู่ข้างหน้าระหว่างแผ่นดินที่พระเจ้าทรงสัญญากับพลไพร่ยิศราเอลคือแม่น้ำยาระเดนที่เอ่อล้นท่วมสูงขึ้น (ยะโฮซูอะ 3:14-17)
37. ตามคำตรัสสั่งของพระเจ้า ปุโรหิตได้แบกหีบคำสัญญาไมตรีลงไปในแม่น้ำยาระเดนที่น้ำกำลังท่วมอยู่ ทันทีที่เท้าของพวกปุโรหิตสัมผัสแม่น้ำยาระเดนพระเจ้าทำให้แม่น้ำยาระเดนแห้งไปทำให้พวกยิศราเอลสามารถเดินข้ามแม่น้ำยาระเดนบนที่ดินแห้ง พลไพร่เหล่านี้เป็นคนชั่วอายุใหม่ที่เกิดขึ้นภายหลัง ยะโฮซูอะกับคาเล็บสองคนเท่านั้นที่มีชีวิตอยู่ที่เป็นคนรุ่นแรกที่ออกมาจากประเทศอียิปต์ ก่อนหน้า 40 ปี ชนชาติยิศราเอลที่เหลือทั้งหลายได้ตายตอนที่วนเวียนอยู่ในป่า (อาฤธโม 26:63-65) เตือนให้เราระลึกถึงคำตรัสของพระเยซูเรื่องทางแคบ “เพราะว่าประตูคับและทางแคบซึ่งนำไปถึงชีวิตนั้นก็มีผู้พบปะน้อย” (มัดธาย 7:14) ชนชาติยิศราเอลที่สัตย์ซื่อได้ข้ามแม่น้ำยาระเดนได้เข้าไปยึดดินแดนและครอบครองแผ่นดินที่พระเจ้าทรงสัญญาไว้ก่อนที่ยะโฮซูอะจะสิ้นชีวิต
38. หลังจากยะโฮซูอะสิ้นชีวิต ผู้วินิจฉัยเป็นหัวหน้าทางการทหารครอบครองดูแลชนชาติยิศราเอลเป็นเวลา 300 ปี ชนชาติยิศราเอลอยู่ภายใต้การปกครองของพระเจ้าโดยไม่มีศูนย์การปกครองของรัฐบาลกลาง พระเจ้าได้เลือกผู้นำเรียกว่า “ผู้วินิจฉัย” ให้ทำหน้าที่ในการสนองความต้องการของพลไพร่ (ผู้วินิจฉัย 2:16-19)39. ผู้วินิจฉัยคนหนึ่งที่พิเศษของชนชาติยิศราเอล เป็นผู้หญิงเธอชื่อดะโบรา เธอเป็นผู้พยากรณ์หญิงด้วย เพราะชนชาติยิศราเอลได้หลงกราบไหว้รูปเคารพในแผ่นดินคะนาอัน พระเจ้าปล่อยให้ชนชาติคะนาอันซึ่งเป็นศัตรูครอบครองพวกยิศราเอล เมื่อใดก็ตามที่พวกยิสราเอลกลับใจเสียใหม่ไม่กราบไหว้รูปเคารพ พระเจ้าได้ช่วยให้พวกยิศราเอลพ้นจากอำนาจการปกครองของพวกคะนาอันภายใต้การเป็นผู้นำของดะโบรา (ผู้วินิจฉัย 4:1-15)